
ศูนย์ข้อมูลการลงพื้นที่งานวิจัยชุมชน ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ทับยาว
ทับยาวหรือกลองยาว เป็นเครื่องดนตรีของไทยมาแต่โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ผู้ใดคิด
ประดิษฐ์ขึ้นก่อน แต่ได้กล่าวกันต่อ ๆ มาว่าเป็นกลองที่ได้แบบอย่างมาจากพม่า ในปลายสมัยกรุงธนบุรีหรือ
สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่าทำสงครามกัน ในช่วงพักรบ ทหารพม่าก็พากันตีกลองยาว ซึ่งได้นำติดตัวมาเป็นที่สนุกสนาน ชาวไทยได้เห็นแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางกระแสกล่าวว่า กลองยาว ของพม่านี้
มีชาวพม่าพวกหนึ่ง นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีบทร้อง
รำ ยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่อง พระอภัยมณีตอนสงครามเก้าทัพ บทร้องมีดังนี้
ทุงเล ทุงเล ทีนี้จะเห่พม่าใหม่
ตกเข้ามาเมืองไทย เป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว
ตีว่องตีไวได้จังหวะ ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว
เลื่องชื่อลือฉาว ตีกลองยาวสลัดได
บางท่านกล่าวว่า คำว่า“สลัดได” เป็นชื่อ ชาวพม่าที่เข้ามาสอนการเล่นกลองยาวให้ชาวไทย
มีชื่อว่า “หม่องสลัดได”
ต่อมาคนไทย นำทับยาวมาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาคและทอดกฐิน เป็นต้น
การเล่นทับยาว เป็นที่นิยมกันมากในฤดูเทศกาลงานตรุษสงกรานต์และการเล่นทับยาวได้แพร่หลายไป
แทบทุกหัวเมือง เพราะเล่นง่ายสนุกสนาน วงหนึ่ง ๆ สามารถใช้ทับยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีประกอบ
จังหวะ ที่ใช้บรรเลงร่วมมี ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง เรียกการเล่นชนิดว่า “เถิดเทิง”หรือ “เทิ้งบ้องกลองยาว”
ที่เรียก ดังนี้ เข้าใจว่าเรียกตามเสียงที่ตีและตามรูปลักษณะของทับยาว เมื่อทับยาวแพร่หลายเข้ามาใน
กรุงเทพมหานคร ปรากฏว่า นักดนตรีที่บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละคร คณะเจ้าพระยา
มหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ได้นำวิธีการเล่นทับยาวมาใช้ในการแสดงละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช
ตอนยกทับพม่า และเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชร พลายบัวออกศึก ในราวปลายสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นอกจากละครพันทางแล้ว ในการแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ของ
หลวงวิจิตรวาทการ เรื่อง เจ้าหญิงแสนหวี ที่แสดง ณ โรงละครกรมศิลปากร ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถาน
แห่งชาติ ก็ได้นำเอาลีลาการเล่นทับยาว มาประกอบเป็นระบำไว้ในละครเรื่องนี้ด้วย เรียกว่า “ชุดกลองยาว
เขมรัฐ” การเล่นทับยาว มิได้มีเพียงแต่ในการแสดงละครเท่านั้น ในงานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ก็ถือเป็นประเพณี
นิยมที่จัดการเล่นทับยาวสืบมาจนทุกวันนี้
เร่งเสียงด้วยหนังเรียด มีส่วนประกอบ ดังนี้
๑. ตัวกลอง หรือที่เรียกว่า “หุ่นกลอง” นิยมทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้ขนุน ไม้มะม่วง
ไม้กระท้อน และไม้จามจุรี เป็นต้น ไม่นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเพราะมีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกต่อการสะพายตี ตัวทับ
ยาวมีด้วยกัน หลายขนาด ตั้งแต่เล็กจนใหญ่ เจาะทะลุเป็นโพงตลอดทั้งลูก ตอนบนตั้งแต่หน้ากลองมาถึง
บริเวณที่เป็นคอคอด มีลักษณะเป็นกระพุ้งอุ้งเสียงทรงกลม บริเวณกระพุ้งนี้จะใช้หนังเรียดโยงหน้ากลองเพื่อ
เร่งเสียง เป็นลักษณะห่าง ๆ โดยรอบกระพุ้ง ตอนกลางถัดจากกระพุ้งลงมาจะค่อย ๆ เรียวคอด ลงไปจนถึง
ปลาย แล้วจึงค่อย ๆ ผายบานเป็นรูปดอกลำโพง
๒. หน้ากลอง ทำจากหนังวัว มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่นิยมใช้ตั้งแต่ประมาณ ๘ - ๑๒ นิ้ว
หน้ากลอง ทายางรัก เป็นวงกลมที่ขอบ และบริเวณกึ่งกลางหน้ากลอง เพื่อเป็นการรักษาหนังบริเวณนั้น เพราะ
เมื่อเวลาเลิกตีจะต้องขูดข้าวสุกออก
๓. ลำโพงกลอง เป็นส่วนประกอบ ในส่วนท้ายของกลอง มีลักษณะบานตรงปลาย คล้ายรูป
ดอกลำโพง จึงเรียกส่วนปลายที่บานนี้ว่า “ลำโพงกลองยาว ”
๔. กระโปรงกลอง เป็นผ้าสีสด หรือผ้าดอกสวยงาม เย็บหุ้มหุ่นกลองยาว ตรงบริเวณกระพุ้ง
กลอง เพื่อมิให้เห็นหนังเรียดและหุ่นกลองบริเวณนี้ บางครั้งมีการตกแต่งด้วยการปล่อยเชิงเป็นระบายต่างสี
๒ – ๓ ชั้น สลับกัน เพื่อให้สวยงามยิ่งขึ้น เรียกผ้าที่หุ้มกลองนี้ว่า“กระโปรงกลองยาว”
๕. สายสะพาย สายสะพายผูกข้างหนึ่งที่หูห่วงริมขอบหน้ากลอง อีกข้างหนึ่งผูกไว้ที่ตอนกลาง
หุ่น กลอง ตรงบริเวณที่เรียวคอด สำหรับใช้คล้องสะพายบ่าเวลายืน
โดยปกติมักจะเรียกขนาดของทับยาว ตามความกว้างของหน้ากลอง เช่น ทับยาว หน้า ๙
นิ้ว ทับยาวหน้า ๑๐ นิ้ว เป็นต้น ส่วนสูงนั้น ถ้าขนาดหน้า ๘ - ๙ นิ้ว จะสูงประมาณ ๗๐-๗๒ เซนติเมตร
ถ้าขนาดหน้า ๑๐-๑๒ นิ้ว สูงประมาณ ๘๒ เซนติเมตร ก่อนตีทับยาว ตรงกลางหน้ากลองที่มียางรักทาเป็น
วงกลมเล็ก ๆ นั้น จะต้องติดข้าวสุกบดผสม ขี้เถ้าฟืน เพื่อถ่วงเสียงให้ได้เสียงตามความต้องการของผู้ตี
การนั่งและการจับทับยาว การนั่ง โดยปกติจะนั่งขัดสมาธิ วางทับยาว ในลักษณะเฉียง
ไปข้างซ้ายของลำตัวผู้ตี โดยให้กระพุ้งทับยาว อยู่บนตักของผู้ตีที่ส่วนบริเวณหางทับยาว ตั้งแต่ส่วนที่
เรียวคอด ต่อจากกระพุ้งทับยาว ไปจนถึงบริเวณที่เสียงจะออกไปในส่วนท้ายของทับยาว ซึ่งเรียกว่า
“ลำโพง” นั้นจะต้องแนบติดกับล าตัวไปด้านหลังของผู้ตี ส่วนมือของผู้ตีจะวางในลักษณะมือซ้ายวางบนกระพุ้ง
ทับยาว โดยครึ่งมือส่วนนอก คือ บริเวณนิ้วทั้งสี่อยู่ตรงหน้าทับยาว สำหรับครึ่งมือส่วนใน จะวางอยู่บน
กระพุ้งทับยาว มือซ้ายที่กล่าวนี้โดยทั่วไปจะทำหน้าที่ยืนจังหวะเบาเพื่อให้มือขวาไปเป็นมือขัด เช่น เปิ้งนะ
เปิ้ง เปิ้ง เปิ้งนะ เปิ้ง เปิ้ง เป็นต้น ส่วนการวางมือขวานั้น จะวางในลักษณะครึ่งมือส่วนนอกอยู่ที่หน้าทับยาว
(อาจจะลึกเข้าไปในครึ่งมือส่วนใน เล็กน้อยก็ได้ตามแต่ถนัด) ครึ่งมือส่วนใน อยู่กระพุ้งทับยาว ถ้าจะกล่าวให้
เข้าใจเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น คือ เมื่อผู้ตีวางทับยาวบนตัก มือซ้ายจะอยู่บนมือขวาจะอยู่ล่าง มือขวาที่จะกล่าวนี้
ทำหน้าที่มากกว่ามือซ้าย โดยตียืน จังหวะหลังบ้าง ขัดจังหวะบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำนองจังหวะทับยาว
สำหรับผู้ที่ถนัดมือซ้ายให้ทำทุกอย่าง ตรงกันข้ามกับมือขวาทั้งสิ้น
การปฏิบัติทับยาว
วิธีการตีทับยาว โดยบังคับมือให้เกิดเสียงต่าง ๆ โดยทั่วไป มี๗ เสียง ดังนี้
๑. เสียง “ป๊ะ” เป็นเสียงทับยาวที่นิยมใช้ตีสอดแทรกกับเสียงอื่น วิธีการตีใช้ตีด้วยมือขวา
โดยใช้มือขวาตั้งแต่ปลายนิ้วมือทั้ง ๔ นิ้ว ตีกดลงไปบนหน้ากลองตรงส่วนล่างของหน้าทับยาวบริเวณที่ติด
ข้าวสุกส่วนล่าง จึงเกิดเสียง “ป๊ะ” ได้ในกรณีที่ฝึกหัดตีเสียง “ป๊ะ” ให้ผู้ตีใช้มือซ้ายช่วยอีกมือหนึ่งด้วยคือ
ใช้มือซ้ายตรงปลายนิ้วที่อยู่บนขอบกลอง กดลงบนหน้ากลองส่วนบนเพื่อไม่ให้หนังหน้ากลองสั่นสะเทือน แล้ว
ใช้มือขวาตีเป็นเสียง “ป๊ะ” ก็จะเป็นเสียงที่หนักแน่นเสียงหนึ่ง
๒. เสียง “บ่อม” เป็นเสียงที่มีใช้มากสำหรับการตีทับยาว และใช้ตีสอดแทรกกับเสียงอื่น
เช่นกัน โดยทั่วไปเสียง “บ่อม”จะใช้ในตอนแรกหลังจากโห่สามลา แล้วโหม่งขึ้นตั้งจังหวะ ต่อจากนั้นจึงตีเป็น
เสียง “บ่อม” ดำเนินจังหวะเป็นทำนองทับยาวทำนองแรก ก่อนที่จะตีทำนองอื่นต่อไป สำหรับวิธีการบังคับ
มือเพื่อให้เกิดเป็นเสียง “บ่อม” นี้เป็นวิธีค่อนข้างง่าย โดยไม่ต้องใช้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายช่วย วิธีง่ายๆ โดยกำ
มือขวาตีลงบนหน้ากลอง บริเวณที่ติดข้าวสุกเมื่อตีแล้วให้ผู้ตียกมือขึ้นเล็กน้อยจากหน้ากลอง เพื่อช่วยให้เสียงที่ตีแล้วกังวานขึ้น จึงจะเกิดเป็นเสียง “บ่อม” ที่ต้องการ
๓. เสียง “เปิ้ง” หรือเสียง “เทิ่ง” เป็นเสียงที่เกิดจากการใช้มืออย่างเดียวกัน หรือเสียง
เดียวกัน โดยใช้มือขวาครึ่งมือส่วนนอก (นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน) ตีลงที่มุมของหน้ากลองยาว เมื่อตีแล้วต้องเปิด
มือขึ้นจากหน้ากลองเล็กน้อย จึงเกิดเป็นเสียง “เปิ้ง” เป็นเสียงที่นิยมมากที่สุดในบรรดาเสียงต่างๆ และยังใช้ตี
สอดแทรกสลับกับเสียงอื่น เช่นเดียวกัน เสียงเปิ้ง นี้อาจใช้ในตอนใดตอนหนึ่งก็ได้หลังจาก “บ่อม” ทั้งนี้
แล้วแต่ผู้คุมวงจะประสงค์ให้อยู่ในตอนหนึ่งตอนใด
๔. เสียง “เปิด”หรือที่ได้ยินกันว่า “เถิด” เป็นเสียงที่เกิดจากการบังคับมืออย่างเดียวกัน
นั่นเอง คือใช้มือขวาบริเวณครึ่งมือส่วนนอก (นิ้วทั้งสี่เรียงชิดกัน) ตีลงที่มุมของหน้าทับยาว วิธีตีเสียง “เปิด”
นี้เมื่อตีแล้วผู้ตีต้องกดปลายนิ้วมือทั้งสี่บนหน้ากลองด้วย จึงเป็นเสียง “เปิด” หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้มือขวาตี
เป็นเสียงอย่างเสียง “เปิ้ง” โดยเปิดมือขึ้นเล็กน้อย ขณะที่มือขวาเปิดมือในระยะเวลาใกล้เคียง มือซ้ายซึ่งวาง
บนขอบ ทับยาวด้านบนต้องรีบปิดมือกดหน้ากลองไว้เสียงที่ตีออกมามักจะเป็นเสียง “เปิด” อนึ่งเสียง
“เปิด” เป็นเสียงที่ออกจะฟังยากสักหน่อยถ้าผู้ฟังไม่สังเกตมือผู้ตีจะไม่สามารถทราบได้ว่า เสียงที่ตีออกมานั้น
เป็นเสียง “เปิด” หรือ “เปิ้ง” กันแน่ นอกจากทั้งสองเสียงนี้มีฐานที่เกิดเสียงอย่างเดียวกัน แต่ผิดกันตรงที่การ
บังคับมือปิดไม่เหมือนกัน อีกทั้งยังเป็นเสียงที่ใช้กันน้อย จึงไม่ค่อยได้ยินกันบ่อย
๕. เสียง “นะ” เป็นเสียงทับยาวอีกเสียงหนึ่ง คือเสียงที่เกิดขึ้นเบา ๆ จากมือซ้าย ซึ่งดำเนิน
แบบยืนจังหวะเบา ๆ ให้กับมือขวา เสียงที่กล่าวนี้เป็นทำนองจังหวะเซิ้งกระติ๊บข้าวที่ใช้เสียง “นะ” ตีแทนเสียง
“ป๊ะ” นั่นเอง จะเห็นได้ว่าเสียง “นะ” เป็นเสียงที่ตกจังหวะตลอด ส่วนเสียง “เปิ้ง” นั้นเป็นเสียงที่ขัดกับเสียง
“นะ” เรื่อยไป วิธีในทางปฏิบัติเมื่อมือขวาตีเป็นเสียง “เปิ้ง” ในจังหวะขัด มือซ้ายก็ตีเป็นเสียง “นะ”เบาๆ
สรุปได้ว่าเสียง “นะ” จะตีเป็นเสียงที่ยืนจังหวะให้กับมือขวาซึ่งตีเสียง “เปิ้ง”
๖. เสียง “เพริ่ง” เป็นเสียงทับยาวที่ยังนิยมใช้ไม่แพ้กับเสียงอื่น ๆ เช่นกัน ถ้าพิจารณา
คำว่า “เพริ่ง” โดยเขียนเป็นคำอ่าน คือ “พะ-เริ่ง” ซึ่งเป็นคาควบกล้าด้วย ร ฉะนั้นเสียงกลองที่ตีเป็นเสียง
“เพริ่ง”นี้คือ ใช้ทั้งมือขวาและมือซ้ายตีด้วยเสียงที่มีน้าหนักเท่ากัน อาจใช้มือขวาตีก่อนแล้วตามด้วยมือซ้าย
หรือจะใช้มือซ้ายแล้วตามด้วยมือขวาก็ได้แต่ที่ถูกจะต้องตีด้วยมือซ้ายก่อน แล้วจึงตามด้วยมือขวา และใช้ตีมือ
ละครั้ง ในลักษณะตีเปิดมือแบบเสียง “เปิ้ง” และต้องตีในเวลาอันกระชั้นที่สุด แต่ไม่ถึงกับตีพร้อมกันทั้งสองมือ
เพียงแต่ตีให้เกิดเป็นเสียงเดียวกันสองครั้งในจังหวะอันเดียวกัน
๗. เสียง “พรู” เป็นเสียงกลองยาวที่ขาดไม่ได้เป็นเสียงที่มีมาช้านาน ซึ่งการละเล่นทับยาว
วงหนึ่งๆ นั้น จะต้องขึ้นต้นเสียงโห่สามลา แต่ละลาก็ต้องรับท้ายจากโห่เสร็จว่า “ฮิ้ว” พร้อมกับตีทับยาวเป็น
เสียง “พรู” และเมื่อครบสามลาแล้ว โหม่งจึงขึ้นตั้งจังหวะ แล้วตามด้วยเสียงทับยาวในทำนองจังหวะต่างๆ
ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ควบคุมวงจะใช้ทำนองจังหวะใดๆ บ้าง วิธีตีเสียงพรูนี้จะใช้มือซ้ายและมือขวา ตีด้วยเสียงเท่ากัน
(มือไหนก่อนก็ได้) ตีในลักษณะ “รัว” คือการตีสองมือสลับกันถี่ๆ จะสั้นหรือยาวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
ของคาว่า “ฮิ้ว” เมื่อตีแล้วเสียงออกมาจะเกิดเป็นเสียง “พรู”
เสียงทับยาวและวิธีในการปฏิบัติที่กล่าวข้างต้น เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป เห็นได้ว่าเสียง
ทับยาวทุกๆ เสียงล้วนมีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสียง ป๊ะ - เปิ้ง , เปิ้ง -บ่อม หรือ ป๊ะ – เปิด
เปิ้ง เสียงเหล่านี้จะสลับและสอดแทรกกันไป เป็นทำนองทับยาวในลักษณะต่างๆ กัน เสียงทั้งหมดที่กล่าว
มาแล้ว สามารถไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีระเบียบแบบแผนต่อไป
การประสมวงรูปแบบกลองยาวทั่ว ๆ ไปของภาคกลาง ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
1. ทับยาว 10 ใบ
2. โหม่ง 1 ใบ
3. ฉิ่ง 1 คู่
4. ฉาบเล็ก 1 คู่
5. ฉาบใหญ่ 1 คู่
6. กรับไม้ 1 คู่
ทับยาว เป็นทับยาวทรงกลม เจาะทะลุเป็นโพรงตลอดทั้งลูก ตอนบนตั้งแต่หน้ากลองลง
มาจนถึงคอคอด เป็นกระพุงอุ้งเสียงทรงกลม บริเวณกระพุงนี้จะใช้หนังเรียดโยงข้างกลอง เพื่อเร่งเสียงเป็น
ลักษณะห่วงโดยรอบกระพุง ตอนกลางตัดจากกระพุงลงมาจะค่อยๆ เรียวลงไปจนถึงตอนปลายแล้วจึงค่อยๆ
บานออกเป็นรูปดอกลำโพง โดยปกติหุ่นกลองยาวตรงบริเวณกระพุง วงกลองยาวของโรงเรียนได้ตกแต่งด้วยสี
ส้มเขียวสะท้อนแสง โดยใช้วิธีการเย็บเป็นกระโปรงหุ้ม เพื่อมิให้สังเกตเห็นหนังเรียด บริเวณหุ่นกลอง บางครั้ง
จะตกแต่งด้วยผ้าลูกไม้ที่มีความสวยงามใช้สำหรับเป็นกลองรำ
ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะ มีการใช้เล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่
สมั ย สุโขทัย ฉิ่งเป็น เครื่องดนตรีที่ สำคัญ ที่ สุ ดใน การ ควบ คุม จังห ว ะ มี รูปร่างลักษณะคล้าย
ถ้วยชา หรือคล้ายฝาขนมครกที่ไม่มีที่จับ ฉิ่งหนึ่งคู่จะมี ๒ ฝา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖ – ๖.๕
เซนติเมตร เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกเพื่อความสะดวกในการเล่น ที่เรียกว่าฉิ่งคงจะเรียกตามเสียงที่ได้
ยินเมื่อตีแล้วกระทบกันหมิ่นๆ จะมีเสียง “ฉิ่ง” ถ้าฝา ๒ ฝาตีกระทบกันจะมีเสียง “ฉับ” สำหรับฉิ่งที่ใช้ในวง
ทับยาวพื้นเมือง บริเวณตรงกลางฉิ่งที่ร้อยเชือกจะมีการผูกริบบิ้นลงไปด้วยเพื่อความสวยงามในขณะทำการแสดง
ฉาบใหญ่ และฉาบเล็ก ฉาบเป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่มี
ขนาดใหญ่กว่า และบางกว่า ใช้ตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะที่ต้องการ
กรับไม้ กรับเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะทำด้วยไม้
ฆ้องโหม่ง เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะที่ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นวงกลมตรงกลางที่นูน
ออก เรียกว่า “ฉัตร” ผู้ตีจะใช้ไม้ตีลงบริเวณฉัตร จะมีเสียง โม้ง โม้ง โดยตีตามจังหวะตกของเสียง “ฉับ” ซึ่ง
เป็นเสียงของการตีฉิ่ง ฆ้องโหม่ง ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะตีกลองทุกใบไปพร้อม ๆ กับ ฉิ่ง ฉาบ และกรับ
การเล่นทับยาวมีการรวบรวมจังหวะในการตีจำนวน 12 จังหวะ คือ
1. จังหวะลงโรง เพื่อบ่งบอกว่าเราพร้อมแล้ว ที่จะเล่นหรือเป็นการปลุกใจผู้ชมให้เกิดความรื่นเริงเกิดความชอบเพื่อที่จะเรียกเข้ามาดู
2. จังหวะเชิด คือจังหวะไหว้ครู จังหวะเชิดนั้นจะนำมาใช้ในพิธีกรรมมากมายอย่างเช่น พิธีเวียนเทียน พิธีทำขวัญนาค พิธีมงคลต่างๆ
3. จังหวะเทิง ม้อง เป็นจังหวะที่มีการใช้ท่ารำประกอบ
4. จังหวะสามม้อง เป็นการร่ายจังหวะที่ใช้ลีลาในการเล่นคือ ใช้หมัด เข่า ศอกเพื่อปลุกใจผู้ชมให้เกิดความฮึกเหิมในการร่ายรำทับยาว
5. จังหวะเพลงทับ เป็นการเล่นเพื่อการไล่กระบวนการของท่าที่เรียกว่า การเล่นนิ้ว
6. จังหวะโทน เป็นจังหวะที่มโนราห์ใช้เล่นจังหวะเทงตุ้ง ใช้ในการร่ายท่า ร่ายเสียงของทับคล้ายๆดนตรีสากลแต่เสียงของทับยาวจะต้องมีเสียงปั๊บ เสียงตุ้ง เสียงม้อง
7. จังหวะเพลงเดิน ซึ่งในปัจจุบันจะนำมาเล่นเป็นเพลงแห่ซึ่งลักษณะของเพลงเดินในการตีทับยาวจะมีอยู่3-4ชั้น และจะต้องใช้ลูกคู่ให้มีความพร้อม
8. จังหวะรำวง ปัจจุบันจะตีกันง่ายๆ คือปั๊บ ทึง ทึง
9. จังหวะสิงโต เล่นคล้ายกับจังหวะของภาคกลางแต่ต้องตีให้เข้ากับเสียงโหม่งเป็นหลัก
10. จังหวะ 7 ชั้น คือเพลงเซิ้ง ทางภาคใต้เรียกว่าเซิ้งนอก เซิ้งใน
11. จังหวะสิงโตคำราม หรือจังหวะหยอก หรือเรียกอีกแบบว่าจังหวะยกไม้ส่งนาง ถ้าหัวหน้ามีปฏิภาณไหวพริบเราสามารถเลือกจังหวะใดจังหวะหนึ่งก็ได้
12. จังหวะพระรามเดินดง เป็นเซิ้งธรรมดา
ส่วนประกอบของทับยาว
ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หน้าทับ
2. ส่วนที่เป็นไม้เรียกว่า หม้อทับยาว
3. คอ เรียกว่า ลำเคียน
4. ส่วนท้ายเรียกว่าปากทับยาวหรือลำโพง
ทับยาวเป็นเครื่องดนตรีของชาวภาคใต้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ตัวกลองทําด้วยไม้จริง นิยมใช้ไม้ขนุน
เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ตัวไม้มีความยาวประมาณ 16 - 17 นิ้ว หน้าทับกว้างประมาณ 6 - 12 นิ้ว ส่วนท้ายกลองกว้างประมาณ 3 - 4 นิ้ว ขยายออกเหมือนถ้วยแก้ว เพื่อใช้ในการตั้งพื้นได้ ขึ้นหนังหน้าเดียวด้วยหนังวัวหรือหนังแพะ เหนือบริเวณขึ้นมามีร่องสําหรับฝังขดลวดขนาดใหญ่ไว้เป็นที่รับและร้อยเชือกหนังที่ดึงหน้ากลองให้ตึงลงมา ลักษณะการตีทับยาว คล้ายการตีทับยาวเชื่อกันว่าการนําทับยาวมาแข่งขันกับทับยาว ความดังจะแตกต่างกันอย่างมาก ใช้ทับยาว 10 ใบ เท่ากับใช้ทับยาว 3 - 4 ลูก ทับยาวมีสองกลุ่มเสียงคือเสียงเอกและเสียงทุ้ม เสียงเอก คือ ทับยาวใบที่มีเสียงสูง เป็นลูกต้นในการเปลี่ยนทํานองเพลงและเสียงทุ้ม คือ ทับยาวใบที่มีเสียงต่ำ เป็นลูกทับยาวที่ทําให้เกิดเสียงกังวาน เสียงของทับยาวนิยมบรรเลงกัน 2 เสียง ได้แก่ เสียงฉับและเสียงครึม
ท่ารำและเพลงประกอบ
ท่ารำที่มาประกอบในจังหวะในการเล่นทับยาวเรียกว่า แม่ท่า แม่ท่า คือ ท่ารำประกอบจนเกิดความชื่นชอบ การรําประกอบทับอาศัยพื้นฐานจากท่วงท่าในยุคเปลี่ยนแปลง มีการเคลื่อนไหวแปรขบวนสอดรับกับจังหวะและทํานอง มือตีทับยาวมีการต่อตัวหลายรูปแบบ มีการคาบทับเพื่อแสดงความสามารถ มีลีลาท่าทางที่ดึงดูดความ สนใจให้กับผู้ชม
เพลงที่ใช้ประกอบการตีทับยาว ในการบรรเลงเพลงทับยาวนั้นมีกระบวนการบรรเลงโดยแบ่ง
ลักษณะการบรรเลงทับยาวออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1. การบรรเลงทับยาวเดินขบวน
2. การบรรเลงทับยาวในการประโคม
3. การบรรเลงทับยาวเพื่อการแข่งขัน การบรรเลงทั้ง 3
ลักษณะการบรรเลงที่คล้ายคลึงกันโดยมี กระบวนการบรรเลงดังต่อไปนี้
1. การโหมโรงไหว้ครู
2. เพลงทับ
3. เพลงตามความเหมาะสมของงาน
4. บากลงจบ

หย่องแหย็ง
วิธีการทำหย่องแหย็ง
ใช้ในการหามหญ้า ฯลฯ
เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย
1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม.
2. สิ่ว
3. สว่าน
4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด
5.ฆ้อน
6.เลื่อย
7.พร้า
8.ลวด
9.ท่อพีวีซี
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดไม้ไผ่สีสุก ขนาดยาวประมาณ 1.5 เมตร
2. เตรียมเสาไม้ไผ่ 4 อัน ขนาด 1.2 เมตร
3. ดวด(ใช้เหล็กสอดในท่อพีวีซี)
4. รังหย่องแหย็ง (ใช้เชือกแดงถัก)
5. สลัก(ขอ) ใช้ร้อยเสาทั้ง 4 คู่
กับดักนก
วิธีการทำกับดักนก
ใช้ดักนกอีลุ้ม นกพริก ฯลฯ
เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย
1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม.
2. สิ่ว
3. สว่าน
4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด
5.ฆ้อน
6.เลื่อย
7.พร้า
8.ลวด
ขั้นตอนการทำำ
1. ตัดไม้ไผ่สีสุก ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม.
2. ผ่าไม้ไผ่กว้างประมาณ 2 นิ้ว เจาะรูด้านบน และร่องด้านล้างให้พอสอดไม้ลูกหลักกับผ่านเข้าไปร้อยเชือกกับคันกับได้.
3. ลูกหลักกับร้อยดึงกับแม่กับ ปลายผูกติดกับลิ้นกุ้ง
4. จัดทำโครงสร้างปากคล้ายปากแตร ใช้ซี่ไม้ไผ่มาผูกประกบกับลวดหรือเหล็ก ใช้เชือกไนล่อนมัดตรึงให้แน่น
ไซนู
การทำ “ไซนู” เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ นั่นก็คือไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่ตง ที่หาได้ในหมู่บ้าน โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นไซ นำมาใช้ในการดักปลากดตัวใหญ่ กุ้งแม่น้ำ แลน (ตัวเงินตัวทอง) ตามทุ่งนา ในอดีต วิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านมักมีเวลาว่างจากการทำนา จึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อเสริมรายได้ของพวกเขา เช่น ทำไร่นาสวนผสมและการหาปลา โดยออกหาปลาตามธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง เมื่อครั้งสมัยโบราณ กุ้ง หอย ปู ปลา สามารถที่จะหากินได้โดยง่าย เพียงแต่ใช้ไซนู ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำสัตว์บก แบบง่ายๆ ก็จะได้กุ้งแม่น้ำตัวใหญ่ ปลากด ปลาช่อน มาเป็นอาหารอย่างไม่ยาก
ไซนู เป็นเครื่องมือใช้ดักสัตว์น้ำและสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ได้ถึงน้ำหนัก 10กิโลกรัม เช่น ตะกวด (แลน) โดยใช้เหยื่อเป็นปลาล่อเหยือมาติดกับดัก เมื่อเหยือไปกัดกินเหยื่อล่อที่เสียบสลักดึงขึงกับเสาและคันธนูไว้ ประตูก็จะดีดลงมาปิด ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซนู สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร มีคันธนูขึงเชือกผูกกับสลักใส่เหยื่อล่อไว้
ประโยชน์
-ใช้ในการดักปลากด โดยใช้เนื้อเป็นเหยื่อ
-ใช้ในการดักกุ้งแม่น้ำ โดยใช้เนื้อมะพร้าวเผาเป็นเหยื่อ
-ใช้ในการดักตะกวด โดยใช้ปลาเป็นเหยื่อ
-เป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน เพื่อการยังชีพได้
วิธีการทำไซนู
เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย
1.ไม้ไผ่สีสุก หรือไม้ไผ่ตก ขนาดขึ้นอยู่กับสัตว์ที่จะดัก
2. สิ่ว
3. สว่าน
4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด
5.ฆ้อน
6.เลื่อย
7.พร้า
8.ลวด หรือเหล็กขนาด1-2หุนพร้อมที่ดัดเหล็ก
ขั้นตอนการทำ
1. ตัดไม้ไผ่ตงหรือไผ่สีสุก ตามขนาดที่ต้องการใช้ดักสัตว์
2. ผ่าไม้ไผ่เป็นซี่ขนาด 1 CM.
3. ดัดเหล็กทำขอบปากไซนูเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดตามความเหมาะสมเช่น ไซนูดักปลา ขนาดประมาณ สูง 14นิ้ว กว้าง 13นิ้ว
4. จัดทำโครงสร้างปากคล้ายปากแตร ใช้ซี่ไม้ไผ่มาผูกประกบกับลวดหรือเหล็ก ใช้เชือกไนล่อนมัดตรึงให้แน่น
5. เชือกเล็ก(สีเขียวตามภาพ)ใช้สำหรับถักร้อยมัดโครงสร้างเป็นรูปทรงแตร
6. ทำสลักสำหรับเสียบเหยือโดยเลือกไม้ไผ่แก่จัดขนาดประมาณ 1คืบไว้เสียบล่อเหยื่อ
7. คันธนู ใช้ไม้ไผ่สีสุกยาวประมาณ 1.5เมตร ขนาดไม้ไผ่ประมาณ 1นิ้ว
8. ใชเชือกไนล่อนใหญ่ (สีแดงตามภาพ)ทำเป็นสายธนู
9. ใช้สายไฟหรือลวดมัดปากประตูคันธนูกับเสาประตู
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา
องค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว กา...

-
เมื่อเดินทางมาตามทางหลวงสาย 4013 เลียบชายหาด เส้นทางสายปากพนัง-หัวไทร มาถึง ต.ขนาบนาค หมู่ที่ 10 ข้ามสะพานหน้าโกฎิเลี้ยวขวามาตามถนนเลียบคล...
-
องค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว กา...
-
วิธีการทำกับดักนก ใช้ดักนกอีลุ้ม นกพริก ฯลฯ เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เ...