คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2567

มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา

องค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา
การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้นๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี ในประเทศไทยพื้นฐานของการทำนาและตัวกำหนดวิธีการปลูกข้่าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนามีปัจจัยหลัก 2 ประการคือ 1. สภาพพื้นที่ (ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ) และภูมิอากาศ 2. สภาพน้ำสำหรับการทำนา หลักสำคัญของการทำนา ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถืงกรกฎาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนนี้ผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรังสามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้ การทำนามีหลักสำคัญ คือ 1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช และโรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบไว้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำในพื้นที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุมดูแลการให้น้ำ 2.การปลูก การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่ การทำนาหยอดและนาหว่าน และ การเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นได้แก่ การทำนาดำ ก. การทำนาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูง วิธีการปลูก : หลังการเตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทำร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช ข. การทำนาหว่าน ทำในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ลำบาก วิธีหว่าน ทำได้ 2 วิธี คือ หว่านข้าวแห้ง หรือหว่านข้าวงอก การหว่านข้าวแห้ง แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ 1. การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝนมาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก 2. การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสม่ำเสมอ 3. การหว่านไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน การหว่านข้าวงอก (หว่านน้ำตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้ การเพาะข้าวทอดกล้าทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง ไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดน้ำเรื่อยไป อย่าให้ข้าวแตกหน่อ แล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว ค. การทำนาดำ เป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง แล้วย้ายไปปลูกในอีกที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำและวัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ 1.การตกกล้า โดยเพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 – 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 – 30 วัน 2.การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่ม ปักดำระยะห่างหน่อย เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ 3.การเก็บเกี่ยว หลังจากที่ข้าวออกดอกหรือออกรวงประมาณ 20 วัน ชาวนาจะเร่งระบายน้ำออก เพื่อเป็นการเร่งให้ข้าวสุกพร้อมๆ กัน และทำให้เมล็ดมีความชื้นไม่สูงเกินไป จะสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากระบายน้ำออกแล้วประมาณ 10 วัน ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเก็บเกี่ยว เรียกว่า ระยะพลับพลึง คือสังเกตที่ปลายรวงจะมีสีเหลืองและ กลางรวงเป็นสีตองอ่อน การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้เมล็ดข้าวที่มีความแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก และมีคุณภาพในการสี 4.การนวดข้าว หลังจากตากข้าว ชาวนาจะขนเข้ามาในลานนวด จากนั้นก็นวดเอาเมล็ดข้าวออกจากรวง บางแห่งใช้แรงงานคน บางแห่งใช้ควายหรือวัวย่ำ แต่ปัจจุบันมีการใช้เครื่องนวดข้าวแล้ว 5.การเก็บรักษา เมล็ดข้าวที่นวดฝัดทำความสะอาดแล้วควรตากให้มีความชื้นประมาณ 14% ก่อนนำเข้าเก็บในยุ้งฉาง ยุ้งฉางที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ อยู่ในสภาพที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก การใช้ลวดตาข่ายกั้นให้มีร่องระบายอากาศกลางยุ้งฉางจะช่วยให้การถ่ายเทอากาศดียิ่งขึ้น คุณภาพเมล็ดข้าวจะคงสภาพดีอยู่นาน อยู่ใกล้บริเวณบ้านและติดถนน สามารถขนส่งได้สะดวก เมล็ดข้าวที่จะเก็บไว้ทำพันธุ์ ต้องแยกจากเมล็ดข้าวบริโภค โดยอาจบรรจุกระสอบ มีป้ายบอกวันบรรจุ และชื่อพันธุ์แยกไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งในยุ้งฉาง เพื่อสะดวกในการขนย้ายไปปลูก ก่อนนำข้าวเข้าเก็บรักษา ควรตรวจสภาพยุ้งฉางทุกครั้ง ทั้งเรื่องความสะอาดและสภาพของยุ้งฉาง ซึ่งอาจมีร่องรอยของหนูกัดแทะจนทำให้นกสามารถลอดเข้าไปจิกกินข้าวได้ รูหรือร่องต่าง ๆ ที่ปิดไม่สนิทเหล่านี้ต้องได้รับการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อน เครื่องมือทำนาพื้นบ้านแบบดั้งเดิมจะมีลักษณะคล้ายกันในแทบทุกภาค โดยจะแตกต่างกันบ้างในประเภทวัสดุที่ใช้ทำเครื่องมือซึ่งมาจากในท้องถิ่น การตกแต่งลวดลายและชื่อที่เรียกแตกต่างกัน และมีลักษณะเฉพาะที่นิยมใช้ในแต่ละภูมิภาค
1.คันไถ เครื่องมือที่ใช้พรวนดินก่อนการปลูกข้าว กลับหน้าดินเพื่อทำให้ดินร่วนซุย ไถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไถวัว ซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานวัวและไถควายซึ่งเป็นไถที่ใช้แรงงานควาย 2.แอก เครื่องมือที่ใช้สำหรับสวมคอควายหรือวัวเพื่อที่จะไถ แอกมี 2 ชนิดคือ แอกวัวควายคู่ กับ แอกวัวควายเดี่ยว
3.คราด เครื่องมือที่ใช้สำหรับคราดดินให้ร่วนซุย คราดมี 2 ชนิดคือ คราดวัวควายคู่ และ คราดวัวควายเดี่ยว 4.สาแหรก เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับหาบข้าว มีไม้คานหาบสาแหรกอีกที 5.จอบ เครื่องมือสำหรับถากหญ้า พรวนดิน และเตรียมดิน
6.เคียว เครื่องมือเกี่ยวข้าวมีรูปโค้ง เคียวมี 2 ชนิดคือ เคียวงอ กับ เคียวลา 7. แกะ เครื่องมือเกี่ยวข้าวที่ใช้เก็บรวงข้าว นิยมใช้ในภาคใต้ 8.ไม้หนีบ เป็นไม้คู่หนึ่งใช้หนีบมัดรวงข้าวเพื่อยกข้าวฟาดลงบนลานหรือม้ารองนวดข้าว หัวไม้ผูกติดกันด้วยเชือก 9.พัดวี ใช้สำหรับพัดฝุ่นผงและข้าวลีบให้ออกจากกองข้าวเปลือก 10.ครกกระเดื่อง ใช้ตำข้าวโดยใช้ปลายเท้าเหยียบกระเดื่องให้สากกระดกขึ้นลง 11.ครกซ้อมมือ ใช้สำหรับตำข้าวเปลือก จากข้าวเปลือกเป็นข้าวกล้อง จากข้าวกล้องเป็นข้าวสาร 12.กระด้ง ใช้ฝัดร่อนข้าวเอาเศษผงฝุ่น แกลบ ออกจากเมล็ดข้าว เครื่องมือจับปลา เครื่องมือใช้สำหรับดักหรือจับสัตว์น้ำในบ้านเรามีหลากหลายรูปแบบและวิธีการ ทั้งด้านการผลิตและการใช้งาน บ้างเอาไปวางแช่น้ำไว้ เอาไปวางในทางน้ำไหล เอาไปสุ่ม ไปตัก ไปช้อน ไปวิดน้ำออกเพื่อจับสัตว์น้ำก็มี หนึ่งในวิธียอดนิยมของชาวนา คือการ “ดัก” สัตว์น้ำ จากบริเวณช่องน้ำไหลระหว่างคันนา ซึ่งถูกขุด ตัด เจาะ ให้เป็นช่อง เพื่อระบายน้ำจากนาแปลงหนึ่งไปสู่อีกแปลงหนึ่งในช่วงต้นฤดูกาลทำนา 1.ลอบ ลอบ เป็นเครื่องมือจับปลาที่สานด้วยไม้ไผ่ หวาย เถาวัลย์ อวน หรือลวดรัดโครงไม้ ลอบ มีช่องว่างให้ปลาเข้าไปติดอยู่ภายใน ลอบแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ ลอบนอน ใช้ดักปลาสำหรับน้ำไหล มักจะมีหูข้างอยู่ที่ปากลอบด้วย โดยใช้แผงเฝือต่อจากหูช้างทั้งสองข้าง กั้นขวางตามแนวแม่น้ำ ลำคลอง วางลอบอยู่ในแนวนอน ลอบมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ก้นรอบเป็นรูปรีๆ มีความยาว 1-2 เมตร เหลาไม้ไผ่เป็นซี่กลมๆ ประมาณ 20 ซี่ มัดด้วยหวาย เถาวัลย์ หรือลวด ไม้ไผ่แต่ล่ะซี่ห่างกันเกือบ 3 เซนติเมตร หากจะดักปลาตัวเล็กก็เรียงซี่ไม้ไผ่ให้ติดกัน ปากลอบดักปลาทำงา 2ชั้น เมื่อปลาว่ายเข้าไปก็จะว่ายออกมาไม่ได้เพราะติดงากั้นไว้ ลอบนอนไม่ต้องใช้เหยื่อล่อ ลอบนอนอีกประเภทหนึ่งใช้กับน้ำนิ่งเรียกว่า ลอบเลาะ ลอบยืน ใช้ดักปลาในน้ำลึก จะใช้แผงเฝือกกั้นหรือไม่ก็ได้ หากใช้เฝือกกั้นก็ดักลอบยืนไว้ตามน้ำนิ่งๆ ใกล้กอหญ้าปลาที่จะเข้าไปมักเป็นปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลากด เป็นต้น ลอบยืนมีลักษณะทรงขวดที่วางตั้งไว้ แต่ส่วนปลายลอบยืนนั้นมัดปลายซี่ไม่ไผ่มารวมกัน ตรงด้านข้างทำงายาวผ่าเกือบตลอด ลอบกุ้ง ใช้ลอบนอนหรือลอบยืนก็ได้ แต่การสานซี่ไม้ไผ่ต้องมีระยะชิดกัน ไม่ให้กุ้งลอดออกไปได้ บางทีใช้ตาข่ายถี่ๆ หรือผ้ามุ้งคลุมรอบตัวลอบไม่ให้กุ้งหนีออกไปได้ เหยื่อที่ใช้ เช่น กากน้ำปลา รำละเอียดผสมดินเหนียวปั้นเป็นก้อน เป็นต้น 2. ไซ ไซ เป็นเครื่องมือดักสัตว์น้ำ โดยมากดักปลาในกลุ่มปลาเล็กปลาน้อย ใช้งานในแหล่งน้ำไม่ลึก มักเป็นแหล่งน้ำไหลและเป็นการเปิดช่องระบายน้ำเข้าออกตามบิ้งนา คันนา ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซปากแตร สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร ไซท่อ สานคล้ายท่อดักปลา หรืออาจตั้งชื่อตามวัตถุประสงค์ เช่น ไซสองหน้า มีช่อง 2 ด้าน ไซลอย ใช้วางลอยในช่วงน้ำตื้นๆ แหวกกอข้าวหรือกอหญ้า วางแช่น้ำไว้ ไซปลากระดี่ ใช้ดักปลากระดี่ ไซกบ สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมรูปทรงกระบอก ใช้ดักกบ ไซโป้ง สานก้นโป่งเล็กน้อย ไซนู ในพื้นที่ อ.เชียรใหญ่ จนครศรีธรรมราช ใช้ดักกุ้งแม่น้ำ ดักปลากด หรือใช้ดักตะกวด ซึ่งขึ้นอยู่กับเหยื่อที่ใช้ดัก แม้ว่าจะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมกันคือ สานเป็นทรงกระบอกและทำปากทางเข้าเป็นงาแซง (ซี่ไม้เสี้ยมปลายแปลม รูปทรงคล้ายกรวยที่บีบแบนๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้) ไซต่างๆ มักไม่ต้องใช้เหยื่อเพราะจะดักปลาที่ต้องไหลในกระแสน้ำ เว้นแต่ไซกบที่ต้องมีเหยื่ออย่างลูกปลา ลูกปู มาล่อ และไซนู หากใช้ในการดักปลากด ใช้เนื้อเป็นเหยื่อ ใช้ในการดักกุ้งแม่น้ำ ใช้เนื้อมะพร้าวเผาเป็นเหยื่อ ใช้ในการดักตะกวด ใช้ปลาเป็นเหยื่อ วัสดุที่ใช้สานไซ คือ ต้นไผ่ ปัจจุบันนี้หาง่ายมาก มีปลูกกันเต็มไปหมดทุกหัวระแหง ต้นไผ่ที่นำมาทำไซ ต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ขนาดกลางๆ อายุประมาณ 2-3 ปี เพราะถ้าแก่เกินไป มันก็จะหักง่าย ส่วนไผ่ที่เอามาทำส่วนใหญ่จะเป็นไผ่สีสุก เพราะทนทานและมีความยืดหยุ่นสูง โดยไผ่ 1 ลำจะสามารถทำไซได้ 1 ลูก ซึ่งแต่ละลูกจะใช้เวลาทำประมาณ 3-5 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไซด้วย วิธีการสานไซ ผู้ทำมักเหลาเส้นตอกให้เล็ก เป็นเส้นกลม ยาวอย่างน้อย 2 ปล้องไผ่ เมื่อได้เส้นตอกตามจำนวนที่ต้องการแล้ว นำมามัดปลายด้านหนึ่งรวมกัน ก่อนจะพับให้กลับไปด้านหลัง แล้วใช้เส้นตอกอีกส่วนหนึ่งสานขวางสลับกันไปตั้งแต่ด้านบนถึงด้านล่าง การสานนิยมสานเป็น “ลายขวางไพห้า” ระหว่างสานผู้ทำต้องบังคับให้รูปทรงป่อง แคบ ตามลักษณะของงาน ส่วนบริเวณตรงกลางหรือกลางค่อนไปทางปลาย จะมีการเจาะใส่งาอีกด้านละช่อง เพื่อให้เป็นส่วนที่ปลาวิ่งเข้าผ่านงา (งา รูปทรงคล้ายกรวย ที่บีบแบนๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้) และนำปลาออกอีกด้าน ไซนู อุปกรณ์จับปลาของชาวอ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช การทำ “ไซนู” เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ นั่นก็คือไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่ตง ที่หาได้ในหมู่บ้าน โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นไซ นำมาใช้ในการดักปลากดตัวใหญ่ กุ้งแม่น้ำ แลน (ตัวเงินตัวทอง) ตามทุ่งนา ในอดีต วิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านมักมีเวลาว่างจากการทำนา จึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อเสริมรายได้ของพวกเขา เช่น ทำไร่นาสวนผสมและการหาปลา โดยออกหาปลาตามธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง เมื่อครั้งสมัยโบราณ กุ้ง หอย ปู ปลา สามารถที่จะหากินได้โดยง่าย เพียงแต่ใช้ไซนู ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำสัตว์บก แบบง่ายๆ ก็จะได้กุ้งแม่น้ำตัวใหญ่ ปลากด ปลาช่อน มาเป็นอาหารอย่างไม่ยาก ไซนู เป็นเครื่องมือใช้ดักสัตว์น้ำและสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ได้ถึงน้ำหนัก 10กิโลกรัม เช่น ตะกวด (แลน) โดยใช้เหยื่อเป็นปลาล่อเหยือมาติดกับดัก เมื่อเหยือไปกัดกินเหยื่อล่อที่เสียบสลักดึงขึงกับเสาและคันธนูไว้ ประตูก็จะดีดลงมาปิด ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซนู สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร มีคันธนูขึงเชือกผูกกับสลักใส่เหยื่อล่อไว้ ประโยชน์ -ใช้ในการดักปลากด โดยใช้เนื้อเป็นเหยื่อ -ใช้ในการดักกุ้งแม่น้ำ โดยใช้เนื้อมะพร้าวเผาเป็นเหยื่อ -ใช้ในการดักตะกวด โดยใช้ปลาเป็นเหยื่อ -เป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน เพื่อการยังชีพได้
วิธีการทำไซนู เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก หรือไม้ไผ่ตก ขนาดขึ้นอยู่กับสัตว์ที่จะดัก 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด 5.ฆ้อน 6.เลื่อย 7.พร้า 8.ลวด หรือเหล็กขนาด1-2หุนพร้อมที่ดัดเหล็ก
ขั้นตอนการทำ 1.ตัดไม้ไผ่ตงหรือไผ่สีสุก ตามขนาดที่ต้องการใช้ดักสัตว์ 2.ผ่าไม้ไผ่เป็นซี่ขนาด 1 CM. 3.ดัดเหล็กทำขอบปากไซนูเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดตามความเหมาะสมเช่น ไซนูดักปลา ขนาดประมาณ สูง 14นิ้ว กว้าง 13นิ้ว 4.จัดทำโครงสร้างปากคล้ายปากแตร ใช้ซี่ไม้ไผ่มาผูกประกบกับลวดหรือเหล็ก ใช้เชือกไนล่อนมัดตรึงให้แน่น 5.เชือกเล็ก(สีเขียวตามภาพ)ใช้สำหรับถักร้อยมัดโครงสร้างเป็นรูปทรงแตร 6.ทำสลักสำหรับเสียบเหยือโดยเลือกไม้ไผ่แก่จัดขนาดประมาณ 1คืบไว้เสียบล่อเหยื่อ 7.คันธนู ใช้ไม้ไผ่สีสุกยาวประมาณ 1.5เมตร ขนาดไม้ไผ่ประมาณ 1นิ้ว 8.ใชเชือกไนล่อนใหญ่ (สีแดงตามภาพ)ทำเป็นสายธนู 9.ใช้สายไฟหรือลวดมัดปากประตูคันธนูกับเสาประตู
4.สุ่มดักปลา สุ่มดักปลา เป็นเครื่องมือไว้สำหรับครอบปลาในน้ำตื้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาช้านาน จวบจนถึงปัจจุบัน นับว่าเป็นความสามารถของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ที่ยังพอมีกำลังในการใช้ฝีมือจักสานอยู่บ้าง โดยเฉพาะการสั่งสมประสบการณ์ ความสามารถและมีความชำนาญ มีขั้นตอนวิธีสานสุ่มดักปลานี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ มีหลายขั้นตอน ตั้งแต่นำไม้ไผ่ตัดเป็นท่อนๆ ท่อนละ 60 เซนติเมตร นำไปรมควันจนดำทำให้มีสีสวย ป้องกันมอดไม้ที่จะมากัดไม้ไผ่ ทำให้ชิ้นงานเสียหาย เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสอนต่อกันมาหลายชั่วอายุคน โดยการนำไม้ไผ่มาเหลาเป็นซี่เล็กๆ ขนาด 1 - 1.50 เซนติเมตร ไปลนไฟให้ท่อนตรงปลายอ่อนและขยายเล็กน้อย นำไปเจาะรูทั้งหมด 61 รู เพื่อสานไม้ไผ่ใส่ซึ่งต้องเน้นความถี่เป็นสำคัญ ป้องกันปลาออกนอกสุ่ม ก่อนนำเชือกมาถักระหว่างซี่ไม่ให้หลุดออกจากกัน สุ่มดักปลาก็จะเสร็จสมบูรณ์ สุ่ม นับเป็นของใช้พื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วทุกภาค หากแต่มีการเรียกชื่อแตกต่างกันตามท้องถิ่น เช่น สุ่มโมง เป็นสุ่มมีขนาดกว้างใหญ่กว่าสุ่มชนิดอื่น โมง มาจากภาษาถิ่น คือ โม่ง มีความหมายว่า ใหญ่โต สุ่มโมงบางพื้นบ้านเรียก สุ่มซี่ หรือ สุ่มก่อง ซึ่งเรียกตามลักษณะการทำของชาวบ้าน สุ่มโมงจะใช้ไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ ประมาณ 50 – 100 ซี่ หากสุ่มใหญ่ก็ใช้ซี่ไม้ไผ่มากขึ้น สุ่มชนิดนี้จะใช้หวาย เถาวัลย์ หรือลวดถักร้อยซี่ไม้ไผ่ยึดกัน โดยมีวงหวาย หรือวงไม้ไผ่ ทำเป็นกรอบไม้ภายใน การถักเส้นหวายเถาวัลย์หรือลวด จะถักซี่ไม้รัดกับวงภายในให้แน่น บางทีชาวบ้านเรียกการถักร้อยสำหรับยึดให้แน่นนี้ว่า “ก่อง” จึงเรียก สุ่มก่อง และลักษณะที่ก่องเป็นซี่ๆ นี้เอง จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุ่มซี่ สุ่มสาน เป็นสุ่มขนาดแคบกว่าสุ่มโมง เหลาซี่ไม้ไผ่จำนวนมาก สานเป็นลายขัดตาสี่เหลี่ยมห่างๆ แต่ไม่ให้ปลาลอดออกได้ บางทีก็เรียกว่า สุ่มขัด สุ่มชนิดนี้ไม่ต้องใช้หวายเถาวัลย์ หรือลวดถักยึดใดๆ สุ่มกลอง มีรูปเล็กกว่าสุ่มสานเล็กน้อย การทำสุ่มจะใช้หวายเถาวัลย์หรือลวดถักสุ่ม ส่วนบน ส่วนล่างใช้ซี่ไม้ไผ่สานขัดเป็นสี่เหลี่ยม สุ่มงวม หรือ อีงวม มีลักษณะพิเศษแตกต่างกัน สุ่มภาคอื่นๆ มีขนาดใหญ่กว่าสุ่มโมงมาก สุ่มบางอันสูงเกินกว่า 1 เมตรก็มี สุ่มงวมจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ปลายตีนสุ่มกว้างออกเล็กน้อย ด้านบนสุ่มทำเป็นวงกว้างเพื่อใช้มือ 2 ข้าง ล้วงจับปลาในสุ่มได้สะดวก การสานสุ่มงวมจะสานด้วยตอกผิวไม้ไผ่บางๆ สานลายขัดทึบโดยตลอด การสุ่มปลามักสุ่มในห้วงน้ำไม่กว้างและลึกนัก สุ่มไปเรื่อยๆ เหมือนคำที่ว่า สุ่มสี่สุ่มห้า แล้วเอามือล้วงควานภายในสุ่ม ถ้าครอบปลาได้จะควานจับใส่ข้องที่มัดสะพายติดตัวไป สมัยก่อนนั้นการสุ่มปลาใช้คนลาก “ไม้ค้อน” ซึ่งเป็นไม้ท่อนกลมจมน้ำ ใช้เชือกมัดท่อนไม้ 2 ข้าง ใช้คน 2 คน ลากในห้วงน้ำ คนถือสุ่มหลายๆ คน จะเดินตามไม้ค้อน ปลาเมื่อเห็นไม้ค้อนลากมาใกล้ตัวหรือถูกตัวจะกระโดดหนี บางทีมีฟองน้ำเป็นทิวๆ ไปข้างหน้า การกระโดดและว่ายหนีนี้จึงเป็นข้อสังเกตให้สุ่มปลาได้ถูก 5.ข้อง ข้อง เป็นเครื่องจักสานชนิดหนึ่ง สานด้วยผิวไม้ไผ่ ปากแคบอย่างคอหม้อ มีฝาปิดเปิดได้ เรียกว่า ฝาข้อง ฝาข้องมีชนิดที่ทำด้วยกะลามะพร้าว และใช้ไม้ไผ่สานเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแหลมปล่อยเป็นซี่ไม้ไว้ เรียกว่า งาแซง ข้องใช้สำหรับใส่ ปลาปู กุ้ง หอย กบ เขียด ข้องมีหลายลักษณะ เช่น ข้องยืน มีลักษณะคล้ายรูปทรงของโอ่งน้ำ หรือรูปทรงกระบอก มีลายปากข้องบานออกขนาดสูง ตั้งแต่ 10 - 15 เซนติเมตร การสานที่ก้นข้องมักจะสานเป็นก้นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวข้องกลมป้อม ป่องตรงกลางค่อยๆ สอบเข้าตรงคอข้อง แล้วบานออกที่ปลายปากข้องคลายปากแตร ที่ก้นข้องและตัวข้องจะสานด้วยลายขัดตาหลิ่ว ตรงคอข้องถึงปากข้องสานด้วยลายขัดตาทะแยง ปลายปากข้องจะต้องทำฝาปิดเปิดโดยสานผิวไม้ไผ่เป็นปิดเวลาจับปลาใส่ข้อง ไม่ต้องเปิดฝาข้องก็ได้ เพราะฝาข้องนี้สามารถใส่ปลาได้สะดวก ปลาจะกระโดดออกมาไม่ได้เพราะ ติดที่ฝาปิดเรียกงา (งา รูปทรงคล้ายกรวย ที่บีบแบนๆ ทำให้ปลาเข้าได้ แต่ว่ายสวนความคมของปลายไม้ออกมาไม่ได้) ฝาข้องอาจทำด้วยกะลามะพร้าวก็มี ผูกเชือกไว้สำหรับสะพายติดตัวไปหาปลา ข้องนอน หรือ ข้องเป็ด มีรูปทรงเป็นแนวนอน การสานข้องมีลักษณะเหมือนเป็ด ลายปากข้องบานหงายขึ้น ด้านบน สำหรับใส่ปลาไว้ในข้อง การสานก้นข้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ข้องนอนหรือข้องเป็ดมักไม่ค่อยสะพายติดตัวไปในขณะกำลังหาจับปลาแต่จะวางไว้ในเรือ ริมคลอง ริมตลิ่ง เป็นต้น ข้องลอย เป็นข้องที่ใช้ลอยในน้ำได้ในระหว่างจับปลา ข้องลอยจะใช้ข้องยืน หรือข้องนอน มัดกับลูกบวบซึ่งทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ 2 ท่อน มัดขนาบตัวข้องให้ลอยน้ำได้ แล้วผูกเชือกมัดติดเอว การใช้งาน ใช้ใส่ปลา กุ้ง หอย ทุกชนิด ใช้ในเวลาที่ออกหาปลา โดยผูกข้องไว้ที่เอว ถ้าจับปลาที่มีขนาดใหญ่นิยมใช้ข้องเป็ด เพราะปลาไม่ต้องงอตัวอยู่ในข้อง ปลาจะนอนตามความยาวของตัวข้อง จะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้นาน ถ้าขังปลาด้วยข้องเป็ดแล้วนำไปแช่น้ำที่ไหล ยิ่งจะทำให้ปลามีชีวิตอยู่ได้หลายวัน อุปกรณ์ในการสานข้อง ไม้ไผ่ที่จักเป็นเส้น เเละเหลาเป็นเส้นบางๆตามความยาวที่ต้องการ มีดสำหรับเหลา 1 อัน ต้องเป็นมีดที่คม เศษผ้าสำหรับพันที่นิ้วชี้ ใช้งานเมื่อเหลาไม้ไผ่ป้องกันการบาดมือ ท่อนไม้ที่เหลาเป็นทรงกลม สำหรับทำเเบบขนาดของปากข้อง วิธีการทำ นำไม้ไผ่ที่เป็นลำมามาผ่า เเล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จเเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอกในการสานข้อง เพราะจะมีความทนทาน กว่าการใช้ใส้ข้างใน ในการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวเเละเเบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม เพื่อความเเน่นหนา เเละคงทน ทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของข้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ 1 เว้น 1 6.แห
แหจับปลา คือ เครื่องมือจับปลาหรือสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำแล้วต้องดึงขึ้นมา ใช้จับปลาเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้ในประกอบอาชีพ หรือใช้จับปลาเพื่อการจำหน่าย แหถือเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ทำให้ชีวิตมีอาหาร และมีรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แห ใช้ทอด เหวี่ยง หรือภาษาบ้านเราเรียกว่าตึก(ภาษาอีสาน เรียก ตึก เช่นตึกปลา)เพื่อหาปลาในนาเท่านั้น แห เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับใช้จับปลา ซึ่งนิยมกันมากของคนทั่วไป เพราะโดยทั่วไปทุกๆคนจะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย มีหนองน้ำ บึง และลำคลอง วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุดของคนทุกภาค ก็คือการใช้แหแทนเท่านั้น เพราะแหสามารถจับปลาได้ทีละหลายๆตัวเลยทีเดียว ดังนั้นแหของคนทุกภาคจึงมีหลายขนาดหลายชนิดเช่นกัน ด้วยความจำเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือน ดังนั้นชาวบ้านจึงมีแหไว้จับปลา และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่เกี่ยวกับแหไว้อย่างต่อเนื่อง คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ การสานแหมีมาตั้งแต่ช้านานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการทำมาหากินของชาวบ้าน และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำรงชีวิตในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ เช่น สถานที่ ที่อาศัยอยู่ใกล้ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างๆที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางธรรมชาติป่าไม้และสระ หนอง คลอง บึง ที่เต็มไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา บริเวณรอบๆหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียง อุปกรณ์ในการสานแห 1.กีม หรือไม้กีม 2. ปาน 3. ด้ายรัง 4. ลูกแห วิธีการในการสานแห 1.ขั้นตอนแรกคือเราจะต้องจัดหาไม้กีม และไม้ปานที่จะใช้ในการสานแหให้เรียบร้อย 2.นำด้ายรัง4มาพันใส่กีมที่เราเตรียมไว้ให้เรียบร้อย 3.เราจะต้องสานจอมแหหรือที่ห้อยแหก่อนจะเริ่มสานจริง 4.เริ่มสานแหโดยการนำด้ายรัง4ที่เราพันใส่กีมมาสานตัวแหให้เป็นตาข่ายตามลายแห 5.เมื่อสานตัวแหเสร็จเราจะต้องนำแหที่เราสานเสร็จแล้วมาห้อยกับลูกแห 6.ขั้นตอนสุดท้ายของการสานแหคือผูกเพาแหที่ด้านล่างให้เรียบร้อย จากนั้นก็สามารถนำไปใช้งานได้ตามต้องการ
7.เบ็ดราว เบ็ดราว เครื่องมือชนิดนี้ประกอบด้วยเส้นเชือก หรือสายลวดทำเป็นสายคร่าวเบ็ด ยาวตามคต้องการ ที่พบใช้กันในน่านน้ำจืดนั้น มีความยาวประมาณ 100 – 200 เมตร ถ้าใช้ในน่านน้ำเค็มแล้วยาวถึง 1,000 เมตรหรือยาวกว่านั้นก็มี เขาใช้เบ็ดเบอร์ 4 – 8 หรือเล็กกว่านี้ก็ได้สุดแท้แต่จะทำการจับปลาชนิดใด ผูกตัวเบ็ดสายทิ้งยาวประมาณ 20 – 40 ซม. ตามจำนวนตัวเบ็ดที่ต้องการ แล้วทำการผูกกับสายคร่าวเบ็ดเป็นระยะห่าง 40 – 50 ซม. อีกทีหนึ่ง วิธีการใช้เครื่องมือนั้น ทำการวางทอดขวางกระแสน้ำของหนอง บึง แม่น้ำ ลำคลองหรือทะเล โดยผูกปลายเชือก สายคร่าวเบ็ดทั้งลองด้านปักไว้ บางรายก็จมคร่าวกับพื้นดิน ด้วยการใช้ของหนักถ่วง มีทุ่นลอยเป็นเครื่องหมาย ทั้งนี้ย่อมสุดแท้แต่ความประสงค์ของผู้ใช้เครื่องมือ และต้องการจับปลาชนิดใด เบ็ดราว จะประกอบด้วยเชือกยาวขึงตามริมฝั่งแม่น้ำ หรือขวางลำน้ำ เพื่อใช้ดักล่อปลาขนาดใหญ่ แล้วผูกเชือก, ด้ายไนล่อน หรือเส้นเอ็นบอร์ 60 - 100 ที่ผูกกับตัวเบ็ดเบอร์ 1 - 10 ที่เป็นเหล็กปลายงอ มีเงี่ยง (ดังภาพด้านบน) ที่จะเสียบเหยื่อล่อเป็นเหยื่อเป็น (ยังดิ้น กระดุกกระดิกได้ ไม่ตาย) หย่อนลงในน้ำไหล 8.เบ็ดคัน เบ็ดคัน จะมี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้จับปลาใหญ่เรียกว่า เบ็ดโยง (เบ็ดคันตรง) มีคันไม้ไผ่ก้านตรงยาวประมาณ 1 - 1.5 เมตร เหลากลมให้เกลี้ยงไม่มีเสี้ยน ด้านหนึ่งทำให้แหลมเพื่อใช้ปักลงในดิน ผูกกับสายเอ็นเบอร์ 60 ส่วนตัวเบ็ดจะใช้เบอร์ 4 - 16 สำหรับจับปลาตัวใหญ่ในฤดูน้ำหลาก ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งก็จะใช้เส้นเอ็นและเบ็ดขนาดเล็กลง เพราะจะไม่มีปลาขนาดใหญ่มากนัก แบบที่ 2 ใช้จับปลาขนาดเล็ก เรียก เบ็ดคันงอ จะใช้คันเบ็ดไม้ไผ่ที่เหลาให้ด้านปลายที่ผูกเข้ากับขอเบ็ดนั้นอ่อนโค้ง ความยาวของคันเบ็ดประมาณ 80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจะใช้เบ็ดเบอร์ 15 - 20 ใช้สายเอ็นเบอร์ 40 - 45 แต่หากใช้สายไนล่อนจะใช้เบอร์ 4 - 6 นิยมปักคันเบ็ดตามห้วย หนอง คลองขนาดเล็ก ตามคันนาในฤดูฝน ซึ่งปลาที่จับได้ก็จะเป็น ปลาดุก ปลาข่อ (ช่อน) ปลาหลาดหรือปลากระทิง ปลาเข็ง ปลาขาว เอี่ยน ปลาก่า ปลากั้ง ปลากด ปลาหลด ปลาตอง ปลาผอ ปลาปาก กับดักนก วิธีการทำกับดักนก ใช้ดักนกอีลุ้ม นกพริก ฯลฯ เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด 5.ฆ้อน 6.เลื่อย 7.พร้า 8.ลวด ขั้นตอนการทำ 1. ตัดไม้ไผ่สีสุก ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. ผ่าไม้ไผ่กว้างประมาณ 2 นิ้ว เจาะรูด้านบน และร่องด้านล้างให้พอสอดไม้ลูกหลักกับผ่านเข้าไปร้อยเชือกกับคันกับได้. 3. ลูกหลักกับร้อยดึงกับแม่กับ ปลายผูกติดกับลิ้นกุ้ง 4. จัดทำโครงสร้างปากคล้ายปากแตร ใช้ซี่ไม้ไผ่มาผูกประกบกับลวดหรือเหล็ก ใช้เชือกไนล่อนมัดตรึงให้แน่น หย่องแหย็ง วิธีการทำหย่องแหย็ง ใช้ในการหามหญ้า ฯลฯ เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด 5.ฆ้อน 6.เลื่อย 7.พร้า 8.ลวด 9.ท่อพีวีซี ขั้นตอนการทำ 5. ตัดไม้ไผ่สีสุก ขนาดยาวประมาณ 1.5 เมตร 6. เตรียมเสาไม้ไผ่ 4 อัน ขนาด 1.2 เมตร 7. ดวด(ใช้เหล็กสอดในท่อพีวีซี) 8. รังหย่องแหย็ง (ใช้เชือกแดงถัก) 9. สลัก(ขอ) ใช้ร้อยเสาทั้ง 4 คู่ บรรณานุกรม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดโพธิ์งาม https://watphonagm.wordpress.com ถนอม สังขนันท์ 16มกราคม 2567. สัมภาษณ์. นายประสาสน์ ศรีเจริญ 17 มกราคม 2567. สัมภาษณ์.  

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

วิถีคนเลี้ยงควายนม:ทวีชัยฟาร์ม

เมื่อเดินทางมาตามทางหลวงสาย 4013 เลียบชายหาด เส้นทางสายปากพนัง-หัวไทร มาถึง ต.ขนาบนาค หมู่ที่ 10 ข้ามสะพานหน้าโกฎิเลี้ยวขวามาตามถนนเลียบคลองระบายน้ำหน้าโกฎิฝั่งซ้าย เลียบตามแม่น้ำมา ประมาณ 2 กม.ก่อนถึงสะพานควาย ก็ถึงทวีชัยฟาร์ม ซึ่งตั้งโดดเด่นอยู่ริมถนน ใกล้แม่น้ำ มีควายสายพันธ์มูร่าห์ ตัวใหญ่ๆ เขาโค้งยาวๆให้เราได้เห็น เมื่อเลี้ยวรถเข้ามาด้านหน้าก็จะเป็นลานจอดรถกว้าง จอดรถได้หลายคัน จากลานจอดรถ เดินเข้าไปก็จะถึงคอกควายมูร่าห์
ทวีชัยฟาร์ม ตำบลขนาบนาค อำเภอปากพนัง จังหวัดนนครศรีธรรมราช มีเกษตรกรผู้เลี้ยงควายนม อยู่ 1 ครอบครัว คือ นายทวี เหมทานนท์ หรือน้าชัย (สามี) อายุ 67 ปี และนางเถาวัลย์ ดาษพร หรือน้าสาว(ภรรยา) อายุ 53 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 132/3 หมู่ที่ 10 ต.ขนาบนาค อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เกษตรกรผู้สืบทอดการเลี้ยงควายมา 6 ชั่วอายุคน เล่าว่า ชีวิตพลิกผันหลังจากนากุ้งขาดทุน เมื่อ30ปีที่แล้ว จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงควายนมแทน เริ่มต้นจากซื้อควายนมมา 1คู่ กับลูกควายอีก 2 ตัว เป็นควายพันธุ์ผสม ราคา 68,000 บาท จากบ้านนาแล ต,เสาเถา อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นก็ขยายพันธ์ควายจนมีมากสุด 37 ตัว มีการจำหน่ายออกไปบ้าง จนในปัจจุบันมีควายตัวเมีย จำนวน 13 ตัว ตัวผู้ พ่อพันธุ์ 1 ตัว สายพันธ์มูร่าห์ทั้งหมด รวม 14 ตัว
น้าชัย เล่าว่า การเลี้ยงควาย 1 ตัว ต้องมีหญ้าให้ควายกิน 1 ไร่ มีบ่อน้ำสะอาดให้ควายกิน มีเนินพื้นที่ให้ควายพัก มีแอ่งน้ำให้ควายแช่เพื่อผ่อนคลาย สำหรับแอ่งน้ำต้องเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่นอนแช่ซ้ำแอ่งเดิม เพราะจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำ จะมีสัตวแพทย์มีเช็คเลือด ตรวจสุขภาพควายทุกๆเดือน
ควายส่วนมากจะกินหญ้าเป็นหลัก หรืออาหารหยาบชนิดต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น หญ้าแห้ง หญ้าหมัก ฝางข้าว หรือเศษเหลือจากผลผลิต ด้านการเกษตร เช่น ต้นข้าวโพด ยอดอ้อย ใบมันสาปะหลัง ต้นถั่ว หญ้าเนเปียร์ และหญ้าหวานอิสรเอล
ในฟาร์มจะมีควายมูร่าห์ตัวเมีย13 ตัว ควายเพศเมียจะเริ่มผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 2 ปีครึ่งขึ้นไป ส่วนเพศผู้อายุ 3 ปีขึ้นไป ระยะการตั้งท้องประมาณ 308-337 วัน คลอดลูกครั้งละ 1 ตัว โดยทั่วไปควายสามารถคลอดลูกเองได้โดยธรรมชาติ ผู้เลี้ยงจึงไม่จำเป็น ที่จะต้องดึงลูกควายออก ในขณะที่แม่ควายกำลังเบ่งลูก นอกจากสังเกตเห็นอาการที่ผิดปกติก่อนคลอด ก็สามารถช่วยทำคลอดได้ เช่น ลูกควายคลอดผิดท่า หรือแม่ควายใช้เวลาเบ่งลูกนานผิดปกติ
น้าสาว เล่าว่า การรีดนมควาย ต้องรีดนมจากแม่ควาย ที่ลูกควายเริ่มกินหญ้าได้แล้วเมื่อลูกอายุได้ ราว 2 เดือน แม่ควาย1ตัวรีดนมได้1-2ลิตร และจะรีดไปได้ถึง 10เดือน วัว 13 ตัว จะมีน้ำนมให้ทั้งปี และมีการนำมาแปรรูปเป็นทอฟฟี่นมควาย เต้าฮวยนมหวาย กาแฟนมควาย และยีสนมควาย นอกจากนี้มูลควายก็สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักขายได้

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2567

ทับยาว

ทับยาวหรือกลองยาว เป็นเครื่องดนตรีของไทยมาแต่โบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ผู้ใดคิด ประดิษฐ์ขึ้นก่อน แต่ได้กล่าวกันต่อ ๆ มาว่าเป็นกลองที่ได้แบบอย่างมาจากพม่า ในปลายสมัยกรุงธนบุรีหรือ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่าทำสงครามกัน ในช่วงพักรบ ทหารพม่าก็พากันตีกลองยาว ซึ่งได้นำติดตัวมาเป็นที่สนุกสนาน ชาวไทยได้เห็นแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางกระแสกล่าวว่า กลองยาว ของพม่านี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่ง นำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีบทร้อง รำ ยกทัพพม่า ในการแสดงละครเรื่อง พระอภัยมณีตอนสงครามเก้าทัพ บทร้องมีดังนี้ ทุงเล ทุงเล ทีนี้จะเห่พม่าใหม่ ตกเข้ามาเมืองไทย เป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว ตีว่องตีไวได้จังหวะ ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว เลื่องชื่อลือฉาว ตีกลองยาวสลัดได บางท่านกล่าวว่า คำว่า“สลัดได” เป็นชื่อ ชาวพม่าที่เข้ามาสอนการเล่นกลองยาวให้ชาวไทย มีชื่อว่า “หม่องสลัดได” ต่อมาคนไทย นำทับยาวมาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาคและทอดกฐิน เป็นต้น การเล่นทับยาว เป็นที่นิยมกันมากในฤดูเทศกาลงานตรุษสงกรานต์และการเล่นทับยาวได้แพร่หลายไป แทบทุกหัวเมือง เพราะเล่นง่ายสนุกสนาน วงหนึ่ง ๆ สามารถใช้ทับยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีประกอบ จังหวะ ที่ใช้บรรเลงร่วมมี ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง เรียกการเล่นชนิดว่า “เถิดเทิง”หรือ “เทิ้งบ้องกลองยาว” ที่เรียก ดังนี้ เข้าใจว่าเรียกตามเสียงที่ตีและตามรูปลักษณะของทับยาว เมื่อทับยาวแพร่หลายเข้ามาใน กรุงเทพมหานคร ปรากฏว่า นักดนตรีที่บรรเลงอยู่ในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละคร คณะเจ้าพระยา มหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) ได้นำวิธีการเล่นทับยาวมาใช้ในการแสดงละครพันทาง เรื่อง ราชาธิราช ตอนยกทับพม่า และเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชร พลายบัวออกศึก ในราวปลายสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นอกจากละครพันทางแล้ว ในการแสดงละครอิงประวัติศาสตร์ของ หลวงวิจิตรวาทการ เรื่อง เจ้าหญิงแสนหวี ที่แสดง ณ โรงละครกรมศิลปากร ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สถาน แห่งชาติ ก็ได้นำเอาลีลาการเล่นทับยาว มาประกอบเป็นระบำไว้ในละครเรื่องนี้ด้วย เรียกว่า “ชุดกลองยาว เขมรัฐ” การเล่นทับยาว มิได้มีเพียงแต่ในการแสดงละครเท่านั้น ในงานนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ก็ถือเป็นประเพณี นิยมที่จัดการเล่นทับยาวสืบมาจนทุกวันนี้
เร่งเสียงด้วยหนังเรียด มีส่วนประกอบ ดังนี้ ๑. ตัวกลอง หรือที่เรียกว่า “หุ่นกลอง” นิยมทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้ขนุน ไม้มะม่วง ไม้กระท้อน และไม้จามจุรี เป็นต้น ไม่นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเพราะมีน้ำหนักมาก ไม่สะดวกต่อการสะพายตี ตัวทับ ยาวมีด้วยกัน หลายขนาด ตั้งแต่เล็กจนใหญ่ เจาะทะลุเป็นโพงตลอดทั้งลูก ตอนบนตั้งแต่หน้ากลองมาถึง บริเวณที่เป็นคอคอด มีลักษณะเป็นกระพุ้งอุ้งเสียงทรงกลม บริเวณกระพุ้งนี้จะใช้หนังเรียดโยงหน้ากลองเพื่อ เร่งเสียง เป็นลักษณะห่าง ๆ โดยรอบกระพุ้ง ตอนกลางถัดจากกระพุ้งลงมาจะค่อย ๆ เรียวคอด ลงไปจนถึง ปลาย แล้วจึงค่อย ๆ ผายบานเป็นรูปดอกลำโพง ๒. หน้ากลอง ทำจากหนังวัว มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่นิยมใช้ตั้งแต่ประมาณ ๘ - ๑๒ นิ้ว หน้ากลอง ทายางรัก เป็นวงกลมที่ขอบ และบริเวณกึ่งกลางหน้ากลอง เพื่อเป็นการรักษาหนังบริเวณนั้น เพราะ เมื่อเวลาเลิกตีจะต้องขูดข้าวสุกออก ๓. ลำโพงกลอง เป็นส่วนประกอบ ในส่วนท้ายของกลอง มีลักษณะบานตรงปลาย คล้ายรูป ดอกลำโพง จึงเรียกส่วนปลายที่บานนี้ว่า “ลำโพงกลองยาว ” ๔. กระโปรงกลอง เป็นผ้าสีสด หรือผ้าดอกสวยงาม เย็บหุ้มหุ่นกลองยาว ตรงบริเวณกระพุ้ง กลอง เพื่อมิให้เห็นหนังเรียดและหุ่นกลองบริเวณนี้ บางครั้งมีการตกแต่งด้วยการปล่อยเชิงเป็นระบายต่างสี ๒ – ๓ ชั้น สลับกัน เพื่อให้สวยงามยิ่งขึ้น เรียกผ้าที่หุ้มกลองนี้ว่า“กระโปรงกลองยาว” ๕. สายสะพาย สายสะพายผูกข้างหนึ่งที่หูห่วงริมขอบหน้ากลอง อีกข้างหนึ่งผูกไว้ที่ตอนกลาง หุ่น กลอง ตรงบริเวณที่เรียวคอด สำหรับใช้คล้องสะพายบ่าเวลายืน โดยปกติมักจะเรียกขนาดของทับยาว ตามความกว้างของหน้ากลอง เช่น ทับยาว หน้า ๙ นิ้ว ทับยาวหน้า ๑๐ นิ้ว เป็นต้น ส่วนสูงนั้น ถ้าขนาดหน้า ๘ - ๙ นิ้ว จะสูงประมาณ ๗๐-๗๒ เซนติเมตร ถ้าขนาดหน้า ๑๐-๑๒ นิ้ว สูงประมาณ ๘๒ เซนติเมตร ก่อนตีทับยาว ตรงกลางหน้ากลองที่มียางรักทาเป็น วงกลมเล็ก ๆ นั้น จะต้องติดข้าวสุกบดผสม ขี้เถ้าฟืน เพื่อถ่วงเสียงให้ได้เสียงตามความต้องการของผู้ตี การนั่งและการจับทับยาว การนั่ง โดยปกติจะนั่งขัดสมาธิ วางทับยาว ในลักษณะเฉียง ไปข้างซ้ายของลำตัวผู้ตี โดยให้กระพุ้งทับยาว อยู่บนตักของผู้ตีที่ส่วนบริเวณหางทับยาว ตั้งแต่ส่วนที่ เรียวคอด ต่อจากกระพุ้งทับยาว ไปจนถึงบริเวณที่เสียงจะออกไปในส่วนท้ายของทับยาว ซึ่งเรียกว่า “ลำโพง” นั้นจะต้องแนบติดกับล าตัวไปด้านหลังของผู้ตี ส่วนมือของผู้ตีจะวางในลักษณะมือซ้ายวางบนกระพุ้ง ทับยาว โดยครึ่งมือส่วนนอก คือ บริเวณนิ้วทั้งสี่อยู่ตรงหน้าทับยาว สำหรับครึ่งมือส่วนใน จะวางอยู่บน กระพุ้งทับยาว มือซ้ายที่กล่าวนี้โดยทั่วไปจะทำหน้าที่ยืนจังหวะเบาเพื่อให้มือขวาไปเป็นมือขัด เช่น เปิ้งนะ เปิ้ง เปิ้ง เปิ้งนะ เปิ้ง เปิ้ง เป็นต้น ส่วนการวางมือขวานั้น จะวางในลักษณะครึ่งมือส่วนนอกอยู่ที่หน้าทับยาว (อาจจะลึกเข้าไปในครึ่งมือส่วนใน เล็กน้อยก็ได้ตามแต่ถนัด) ครึ่งมือส่วนใน อยู่กระพุ้งทับยาว ถ้าจะกล่าวให้ เข้าใจเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น คือ เมื่อผู้ตีวางทับยาวบนตัก มือซ้ายจะอยู่บนมือขวาจะอยู่ล่าง มือขวาที่จะกล่าวนี้ ทำหน้าที่มากกว่ามือซ้าย โดยตียืน จังหวะหลังบ้าง ขัดจังหวะบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทำนองจังหวะทับยาว สำหรับผู้ที่ถนัดมือซ้ายให้ทำทุกอย่าง ตรงกันข้ามกับมือขวาทั้งสิ้น การปฏิบัติทับยาว วิธีการตีทับยาว โดยบังคับมือให้เกิดเสียงต่าง ๆ โดยทั่วไป มี๗ เสียง ดังนี้ ๑. เสียง “ป๊ะ” เป็นเสียงทับยาวที่นิยมใช้ตีสอดแทรกกับเสียงอื่น วิธีการตีใช้ตีด้วยมือขวา โดยใช้มือขวาตั้งแต่ปลายนิ้วมือทั้ง ๔ นิ้ว ตีกดลงไปบนหน้ากลองตรงส่วนล่างของหน้าทับยาวบริเวณที่ติด ข้าวสุกส่วนล่าง จึงเกิดเสียง “ป๊ะ” ได้ในกรณีที่ฝึกหัดตีเสียง “ป๊ะ” ให้ผู้ตีใช้มือซ้ายช่วยอีกมือหนึ่งด้วยคือ ใช้มือซ้ายตรงปลายนิ้วที่อยู่บนขอบกลอง กดลงบนหน้ากลองส่วนบนเพื่อไม่ให้หนังหน้ากลองสั่นสะเทือน แล้ว ใช้มือขวาตีเป็นเสียง “ป๊ะ” ก็จะเป็นเสียงที่หนักแน่นเสียงหนึ่ง ๒. เสียง “บ่อม” เป็นเสียงที่มีใช้มากสำหรับการตีทับยาว และใช้ตีสอดแทรกกับเสียงอื่น เช่นกัน โดยทั่วไปเสียง “บ่อม”จะใช้ในตอนแรกหลังจากโห่สามลา แล้วโหม่งขึ้นตั้งจังหวะ ต่อจากนั้นจึงตีเป็น เสียง “บ่อม” ดำเนินจังหวะเป็นทำนองทับยาวทำนองแรก ก่อนที่จะตีทำนองอื่นต่อไป สำหรับวิธีการบังคับ มือเพื่อให้เกิดเป็นเสียง “บ่อม” นี้เป็นวิธีค่อนข้างง่าย โดยไม่ต้องใช้ส่วนอื่นๆ ของร่างกายช่วย วิธีง่ายๆ โดยกำ มือขวาตีลงบนหน้ากลอง บริเวณที่ติดข้าวสุกเมื่อตีแล้วให้ผู้ตียกมือขึ้นเล็กน้อยจากหน้ากลอง เพื่อช่วยให้เสียงที่ตีแล้วกังวานขึ้น จึงจะเกิดเป็นเสียง “บ่อม” ที่ต้องการ ๓. เสียง “เปิ้ง” หรือเสียง “เทิ่ง” เป็นเสียงที่เกิดจากการใช้มืออย่างเดียวกัน หรือเสียง เดียวกัน โดยใช้มือขวาครึ่งมือส่วนนอก (นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน) ตีลงที่มุมของหน้ากลองยาว เมื่อตีแล้วต้องเปิด มือขึ้นจากหน้ากลองเล็กน้อย จึงเกิดเป็นเสียง “เปิ้ง” เป็นเสียงที่นิยมมากที่สุดในบรรดาเสียงต่างๆ และยังใช้ตี สอดแทรกสลับกับเสียงอื่น เช่นเดียวกัน เสียงเปิ้ง นี้อาจใช้ในตอนใดตอนหนึ่งก็ได้หลังจาก “บ่อม” ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้คุมวงจะประสงค์ให้อยู่ในตอนหนึ่งตอนใด ๔. เสียง “เปิด”หรือที่ได้ยินกันว่า “เถิด” เป็นเสียงที่เกิดจากการบังคับมืออย่างเดียวกัน นั่นเอง คือใช้มือขวาบริเวณครึ่งมือส่วนนอก (นิ้วทั้งสี่เรียงชิดกัน) ตีลงที่มุมของหน้าทับยาว วิธีตีเสียง “เปิด” นี้เมื่อตีแล้วผู้ตีต้องกดปลายนิ้วมือทั้งสี่บนหน้ากลองด้วย จึงเป็นเสียง “เปิด” หรืออีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้มือขวาตี เป็นเสียงอย่างเสียง “เปิ้ง” โดยเปิดมือขึ้นเล็กน้อย ขณะที่มือขวาเปิดมือในระยะเวลาใกล้เคียง มือซ้ายซึ่งวาง บนขอบ ทับยาวด้านบนต้องรีบปิดมือกดหน้ากลองไว้เสียงที่ตีออกมามักจะเป็นเสียง “เปิด” อนึ่งเสียง “เปิด” เป็นเสียงที่ออกจะฟังยากสักหน่อยถ้าผู้ฟังไม่สังเกตมือผู้ตีจะไม่สามารถทราบได้ว่า เสียงที่ตีออกมานั้น เป็นเสียง “เปิด” หรือ “เปิ้ง” กันแน่ นอกจากทั้งสองเสียงนี้มีฐานที่เกิดเสียงอย่างเดียวกัน แต่ผิดกันตรงที่การ บังคับมือปิดไม่เหมือนกัน อีกทั้งยังเป็นเสียงที่ใช้กันน้อย จึงไม่ค่อยได้ยินกันบ่อย ๕. เสียง “นะ” เป็นเสียงทับยาวอีกเสียงหนึ่ง คือเสียงที่เกิดขึ้นเบา ๆ จากมือซ้าย ซึ่งดำเนิน แบบยืนจังหวะเบา ๆ ให้กับมือขวา เสียงที่กล่าวนี้เป็นทำนองจังหวะเซิ้งกระติ๊บข้าวที่ใช้เสียง “นะ” ตีแทนเสียง “ป๊ะ” นั่นเอง จะเห็นได้ว่าเสียง “นะ” เป็นเสียงที่ตกจังหวะตลอด ส่วนเสียง “เปิ้ง” นั้นเป็นเสียงที่ขัดกับเสียง “นะ” เรื่อยไป วิธีในทางปฏิบัติเมื่อมือขวาตีเป็นเสียง “เปิ้ง” ในจังหวะขัด มือซ้ายก็ตีเป็นเสียง “นะ”เบาๆ สรุปได้ว่าเสียง “นะ” จะตีเป็นเสียงที่ยืนจังหวะให้กับมือขวาซึ่งตีเสียง “เปิ้ง” ๖. เสียง “เพริ่ง” เป็นเสียงทับยาวที่ยังนิยมใช้ไม่แพ้กับเสียงอื่น ๆ เช่นกัน ถ้าพิจารณา คำว่า “เพริ่ง” โดยเขียนเป็นคำอ่าน คือ “พะ-เริ่ง” ซึ่งเป็นคาควบกล้าด้วย ร ฉะนั้นเสียงกลองที่ตีเป็นเสียง “เพริ่ง”นี้คือ ใช้ทั้งมือขวาและมือซ้ายตีด้วยเสียงที่มีน้าหนักเท่ากัน อาจใช้มือขวาตีก่อนแล้วตามด้วยมือซ้าย หรือจะใช้มือซ้ายแล้วตามด้วยมือขวาก็ได้แต่ที่ถูกจะต้องตีด้วยมือซ้ายก่อน แล้วจึงตามด้วยมือขวา และใช้ตีมือ ละครั้ง ในลักษณะตีเปิดมือแบบเสียง “เปิ้ง” และต้องตีในเวลาอันกระชั้นที่สุด แต่ไม่ถึงกับตีพร้อมกันทั้งสองมือ เพียงแต่ตีให้เกิดเป็นเสียงเดียวกันสองครั้งในจังหวะอันเดียวกัน ๗. เสียง “พรู” เป็นเสียงกลองยาวที่ขาดไม่ได้เป็นเสียงที่มีมาช้านาน ซึ่งการละเล่นทับยาว วงหนึ่งๆ นั้น จะต้องขึ้นต้นเสียงโห่สามลา แต่ละลาก็ต้องรับท้ายจากโห่เสร็จว่า “ฮิ้ว” พร้อมกับตีทับยาวเป็น เสียง “พรู” และเมื่อครบสามลาแล้ว โหม่งจึงขึ้นตั้งจังหวะ แล้วตามด้วยเสียงทับยาวในทำนองจังหวะต่างๆ ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ควบคุมวงจะใช้ทำนองจังหวะใดๆ บ้าง วิธีตีเสียงพรูนี้จะใช้มือซ้ายและมือขวา ตีด้วยเสียงเท่ากัน (มือไหนก่อนก็ได้) ตีในลักษณะ “รัว” คือการตีสองมือสลับกันถี่ๆ จะสั้นหรือยาวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของคาว่า “ฮิ้ว” เมื่อตีแล้วเสียงออกมาจะเกิดเป็นเสียง “พรู” เสียงทับยาวและวิธีในการปฏิบัติที่กล่าวข้างต้น เป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป เห็นได้ว่าเสียง ทับยาวทุกๆ เสียงล้วนมีความสัมพันธ์กันตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเสียง ป๊ะ - เปิ้ง , เปิ้ง -บ่อม หรือ ป๊ะ – เปิด เปิ้ง เสียงเหล่านี้จะสลับและสอดแทรกกันไป เป็นทำนองทับยาวในลักษณะต่างๆ กัน เสียงทั้งหมดที่กล่าว มาแล้ว สามารถไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างมีระเบียบแบบแผนต่อไป การประสมวงรูปแบบกลองยาวทั่ว ๆ ไปของภาคกลาง ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้ 1. ทับยาว 10 ใบ 2. โหม่ง 1 ใบ 3. ฉิ่ง 1 คู่ 4. ฉาบเล็ก 1 คู่ 5. ฉาบใหญ่ 1 คู่ 6. กรับไม้ 1 คู่ ทับยาว เป็นทับยาวทรงกลม เจาะทะลุเป็นโพรงตลอดทั้งลูก ตอนบนตั้งแต่หน้ากลองลง มาจนถึงคอคอด เป็นกระพุงอุ้งเสียงทรงกลม บริเวณกระพุงนี้จะใช้หนังเรียดโยงข้างกลอง เพื่อเร่งเสียงเป็น ลักษณะห่วงโดยรอบกระพุง ตอนกลางตัดจากกระพุงลงมาจะค่อยๆ เรียวลงไปจนถึงตอนปลายแล้วจึงค่อยๆ บานออกเป็นรูปดอกลำโพง โดยปกติหุ่นกลองยาวตรงบริเวณกระพุง วงกลองยาวของโรงเรียนได้ตกแต่งด้วยสี ส้มเขียวสะท้อนแสง โดยใช้วิธีการเย็บเป็นกระโปรงหุ้ม เพื่อมิให้สังเกตเห็นหนังเรียด บริเวณหุ่นกลอง บางครั้ง จะตกแต่งด้วยผ้าลูกไม้ที่มีความสวยงามใช้สำหรับเป็นกลองรำ ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะ มีการใช้เล่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ สมั ย สุโขทัย ฉิ่งเป็น เครื่องดนตรีที่ สำคัญ ที่ สุ ดใน การ ควบ คุม จังห ว ะ มี รูปร่างลักษณะคล้าย ถ้วยชา หรือคล้ายฝาขนมครกที่ไม่มีที่จับ ฉิ่งหนึ่งคู่จะมี ๒ ฝา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖ – ๖.๕ เซนติเมตร เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือกเพื่อความสะดวกในการเล่น ที่เรียกว่าฉิ่งคงจะเรียกตามเสียงที่ได้ ยินเมื่อตีแล้วกระทบกันหมิ่นๆ จะมีเสียง “ฉิ่ง” ถ้าฝา ๒ ฝาตีกระทบกันจะมีเสียง “ฉับ” สำหรับฉิ่งที่ใช้ในวง ทับยาวพื้นเมือง บริเวณตรงกลางฉิ่งที่ร้อยเชือกจะมีการผูกริบบิ้นลงไปด้วยเพื่อความสวยงามในขณะทำการแสดง ฉาบใหญ่ และฉาบเล็ก ฉาบเป็นเครื่องดนตรีที่ทำด้วยโลหะชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายฉิ่ง แต่มี ขนาดใหญ่กว่า และบางกว่า ใช้ตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะที่ต้องการ กรับไม้ กรับเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะทำด้วยไม้ ฆ้องโหม่ง เป็นเครื่องตีประกอบจังหวะที่ทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นวงกลมตรงกลางที่นูน ออก เรียกว่า “ฉัตร” ผู้ตีจะใช้ไม้ตีลงบริเวณฉัตร จะมีเสียง โม้ง โม้ง โดยตีตามจังหวะตกของเสียง “ฉับ” ซึ่ง เป็นเสียงของการตีฉิ่ง ฆ้องโหม่ง ทำหน้าที่ควบคุมจังหวะตีกลองทุกใบไปพร้อม ๆ กับ ฉิ่ง ฉาบ และกรับ การเล่นทับยาวมีการรวบรวมจังหวะในการตีจำนวน 12 จังหวะ คือ 1. จังหวะลงโรง เพื่อบ่งบอกว่าเราพร้อมแล้ว ที่จะเล่นหรือเป็นการปลุกใจผู้ชมให้เกิดความรื่นเริงเกิดความชอบเพื่อที่จะเรียกเข้ามาดู 2. จังหวะเชิด คือจังหวะไหว้ครู จังหวะเชิดนั้นจะนำมาใช้ในพิธีกรรมมากมายอย่างเช่น พิธีเวียนเทียน พิธีทำขวัญนาค พิธีมงคลต่างๆ 3. จังหวะเทิง ม้อง เป็นจังหวะที่มีการใช้ท่ารำประกอบ 4. จังหวะสามม้อง เป็นการร่ายจังหวะที่ใช้ลีลาในการเล่นคือ ใช้หมัด เข่า ศอกเพื่อปลุกใจผู้ชมให้เกิดความฮึกเหิมในการร่ายรำทับยาว 5. จังหวะเพลงทับ เป็นการเล่นเพื่อการไล่กระบวนการของท่าที่เรียกว่า การเล่นนิ้ว 6. จังหวะโทน เป็นจังหวะที่มโนราห์ใช้เล่นจังหวะเทงตุ้ง ใช้ในการร่ายท่า ร่ายเสียงของทับคล้ายๆดนตรีสากลแต่เสียงของทับยาวจะต้องมีเสียงปั๊บ เสียงตุ้ง เสียงม้อง 7. จังหวะเพลงเดิน ซึ่งในปัจจุบันจะนำมาเล่นเป็นเพลงแห่ซึ่งลักษณะของเพลงเดินในการตีทับยาวจะมีอยู่3-4ชั้น และจะต้องใช้ลูกคู่ให้มีความพร้อม 8. จังหวะรำวง ปัจจุบันจะตีกันง่ายๆ คือปั๊บ ทึง ทึง 9. จังหวะสิงโต เล่นคล้ายกับจังหวะของภาคกลางแต่ต้องตีให้เข้ากับเสียงโหม่งเป็นหลัก 10. จังหวะ 7 ชั้น คือเพลงเซิ้ง ทางภาคใต้เรียกว่าเซิ้งนอก เซิ้งใน 11. จังหวะสิงโตคำราม หรือจังหวะหยอก หรือเรียกอีกแบบว่าจังหวะยกไม้ส่งนาง ถ้าหัวหน้ามีปฏิภาณไหวพริบเราสามารถเลือกจังหวะใดจังหวะหนึ่งก็ได้ 12. จังหวะพระรามเดินดง เป็นเซิ้งธรรมดา ส่วนประกอบของทับยาว ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. หน้าทับ 2. ส่วนที่เป็นไม้เรียกว่า หม้อทับยาว 3. คอ เรียกว่า ลำเคียน 4. ส่วนท้ายเรียกว่าปากทับยาวหรือลำโพง ทับยาวเป็นเครื่องดนตรีของชาวภาคใต้ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ตัวกลองทําด้วยไม้จริง นิยมใช้ไม้ขนุน เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ตัวไม้มีความยาวประมาณ 16 - 17 นิ้ว หน้าทับกว้างประมาณ 6 - 12 นิ้ว ส่วนท้ายกลองกว้างประมาณ 3 - 4 นิ้ว ขยายออกเหมือนถ้วยแก้ว เพื่อใช้ในการตั้งพื้นได้ ขึ้นหนังหน้าเดียวด้วยหนังวัวหรือหนังแพะ เหนือบริเวณขึ้นมามีร่องสําหรับฝังขดลวดขนาดใหญ่ไว้เป็นที่รับและร้อยเชือกหนังที่ดึงหน้ากลองให้ตึงลงมา ลักษณะการตีทับยาว คล้ายการตีทับยาวเชื่อกันว่าการนําทับยาวมาแข่งขันกับทับยาว ความดังจะแตกต่างกันอย่างมาก ใช้ทับยาว 10 ใบ เท่ากับใช้ทับยาว 3 - 4 ลูก ทับยาวมีสองกลุ่มเสียงคือเสียงเอกและเสียงทุ้ม เสียงเอก คือ ทับยาวใบที่มีเสียงสูง เป็นลูกต้นในการเปลี่ยนทํานองเพลงและเสียงทุ้ม คือ ทับยาวใบที่มีเสียงต่ำ เป็นลูกทับยาวที่ทําให้เกิดเสียงกังวาน เสียงของทับยาวนิยมบรรเลงกัน 2 เสียง ได้แก่ เสียงฉับและเสียงครึม ท่ารำและเพลงประกอบ ท่ารำที่มาประกอบในจังหวะในการเล่นทับยาวเรียกว่า แม่ท่า แม่ท่า คือ ท่ารำประกอบจนเกิดความชื่นชอบ การรําประกอบทับอาศัยพื้นฐานจากท่วงท่าในยุคเปลี่ยนแปลง มีการเคลื่อนไหวแปรขบวนสอดรับกับจังหวะและทํานอง มือตีทับยาวมีการต่อตัวหลายรูปแบบ มีการคาบทับเพื่อแสดงความสามารถ มีลีลาท่าทางที่ดึงดูดความ สนใจให้กับผู้ชม เพลงที่ใช้ประกอบการตีทับยาว ในการบรรเลงเพลงทับยาวนั้นมีกระบวนการบรรเลงโดยแบ่ง ลักษณะการบรรเลงทับยาวออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1. การบรรเลงทับยาวเดินขบวน 2. การบรรเลงทับยาวในการประโคม 3. การบรรเลงทับยาวเพื่อการแข่งขัน การบรรเลงทั้ง 3 ลักษณะการบรรเลงที่คล้ายคลึงกันโดยมี กระบวนการบรรเลงดังต่อไปนี้ 1. การโหมโรงไหว้ครู 2. เพลงทับ 3. เพลงตามความเหมาะสมของงาน 4. บากลงจบ

หย่องแหย็ง

วิธีการทำหย่องแหย็ง ใช้ในการหามหญ้า ฯลฯ เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด 5.ฆ้อน 6.เลื่อย 7.พร้า 8.ลวด 9.ท่อพีวีซี
ขั้นตอนการทำ 1. ตัดไม้ไผ่สีสุก ขนาดยาวประมาณ 1.5 เมตร 2. เตรียมเสาไม้ไผ่ 4 อัน ขนาด 1.2 เมตร 3. ดวด(ใช้เหล็กสอดในท่อพีวีซี) 4. รังหย่องแหย็ง (ใช้เชือกแดงถัก) 5. สลัก(ขอ) ใช้ร้อยเสาทั้ง 4 คู่

กับดักนก

วิธีการทำกับดักนก ใช้ดักนกอีลุ้ม นกพริก ฯลฯ เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก ทำแม่กับ ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด 5.ฆ้อน 6.เลื่อย 7.พร้า 8.ลวด
ขั้นตอนการทำำ 1. ตัดไม้ไผ่สีสุก ขนาดยาวประมาณ 65 ซ.ม. 2. ผ่าไม้ไผ่กว้างประมาณ 2 นิ้ว เจาะรูด้านบน และร่องด้านล้างให้พอสอดไม้ลูกหลักกับผ่านเข้าไปร้อยเชือกกับคันกับได้. 3. ลูกหลักกับร้อยดึงกับแม่กับ ปลายผูกติดกับลิ้นกุ้ง 4. จัดทำโครงสร้างปากคล้ายปากแตร ใช้ซี่ไม้ไผ่มาผูกประกบกับลวดหรือเหล็ก ใช้เชือกไนล่อนมัดตรึงให้แน่น

ไซนู

การทำ “ไซนู” เป็นการสืบทอดภูมิปัญญามาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ นั่นก็คือไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่ตง ที่หาได้ในหมู่บ้าน โดยนำไม้ไผ่มาสานเป็นไซ นำมาใช้ในการดักปลากดตัวใหญ่ กุ้งแม่น้ำ แลน (ตัวเงินตัวทอง) ตามทุ่งนา ในอดีต วิถีชีวิตของชาวบ้าน เมื่อเสร็จจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวบ้านมักมีเวลาว่างจากการทำนา จึงใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อเสริมรายได้ของพวกเขา เช่น ทำไร่นาสวนผสมและการหาปลา โดยออกหาปลาตามธรรมชาติ ห้วย หนอง คลอง บึง เมื่อครั้งสมัยโบราณ กุ้ง หอย ปู ปลา สามารถที่จะหากินได้โดยง่าย เพียงแต่ใช้ไซนู ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำสัตว์บก แบบง่ายๆ ก็จะได้กุ้งแม่น้ำตัวใหญ่ ปลากด ปลาช่อน มาเป็นอาหารอย่างไม่ยาก ไซนู เป็นเครื่องมือใช้ดักสัตว์น้ำและสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ได้ถึงน้ำหนัก 10กิโลกรัม เช่น ตะกวด (แลน) โดยใช้เหยื่อเป็นปลาล่อเหยือมาติดกับดัก เมื่อเหยือไปกัดกินเหยื่อล่อที่เสียบสลักดึงขึงกับเสาและคันธนูไว้ ประตูก็จะดีดลงมาปิด ไซมีหลายรูปทรง ตั้งชื่อตามรูปทรงนั้น เช่น ไซนู สานเป็นรูปกรวยปากไซบานออกเป็นรูปปากแตร มีคันธนูขึงเชือกผูกกับสลักใส่เหยื่อล่อไว้ ประโยชน์ -ใช้ในการดักปลากด โดยใช้เนื้อเป็นเหยื่อ -ใช้ในการดักกุ้งแม่น้ำ โดยใช้เนื้อมะพร้าวเผาเป็นเหยื่อ -ใช้ในการดักตะกวด โดยใช้ปลาเป็นเหยื่อ -เป็นเครื่องมือในการทำมาหากิน เพื่อการยังชีพได้
วิธีการทำไซนู เตรียมอุปกรณ์ ประกอบด้วย 1.ไม้ไผ่สีสุก หรือไม้ไผ่ตก ขนาดขึ้นอยู่กับสัตว์ที่จะดัก 2. สิ่ว 3. สว่าน 4.เชือกไนล่อน 2 ขนาด 5.ฆ้อน 6.เลื่อย 7.พร้า 8.ลวด หรือเหล็กขนาด1-2หุนพร้อมที่ดัดเหล็ก
ขั้นตอนการทำ 1. ตัดไม้ไผ่ตงหรือไผ่สีสุก ตามขนาดที่ต้องการใช้ดักสัตว์ 2. ผ่าไม้ไผ่เป็นซี่ขนาด 1 CM. 3. ดัดเหล็กทำขอบปากไซนูเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดตามความเหมาะสมเช่น ไซนูดักปลา ขนาดประมาณ สูง 14นิ้ว กว้าง 13นิ้ว 4. จัดทำโครงสร้างปากคล้ายปากแตร ใช้ซี่ไม้ไผ่มาผูกประกบกับลวดหรือเหล็ก ใช้เชือกไนล่อนมัดตรึงให้แน่น 5. เชือกเล็ก(สีเขียวตามภาพ)ใช้สำหรับถักร้อยมัดโครงสร้างเป็นรูปทรงแตร 6. ทำสลักสำหรับเสียบเหยือโดยเลือกไม้ไผ่แก่จัดขนาดประมาณ 1คืบไว้เสียบล่อเหยื่อ 7. คันธนู ใช้ไม้ไผ่สีสุกยาวประมาณ 1.5เมตร ขนาดไม้ไผ่ประมาณ 1นิ้ว 8. ใชเชือกไนล่อนใหญ่ (สีแดงตามภาพ)ทำเป็นสายธนู 9. ใช้สายไฟหรือลวดมัดปากประตูคันธนูกับเสาประตู

มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา

องค์ความรู้ มรดกภูมิปัญญาเกี่ยวกับอุปกรณ์วิถีทำนา การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว กา...